ChiangmaiFX : ก้าวสู่ปีที่ 15 อย่างมั่นคงในการเทรด Forex (2009 - 2024) โดยใช้วิชาเทคนิคอล (สถิติประยุกต์) มาช่วยเพิ่มโอกาสที่จะชนะ

 

YTC Price Action (Part 1-10)

สวัสดีครับ ช่วงนี้ผมพอจะมีเวลาอยู่บ้าง จึงมีโครงการแปล E-book มาให้ทุกท่านได้อ่านกันอีกเช่นเคย เล่มนี้นะครับ โดยผมจะไม่ได้แปลทั้งหมดนะครับ เพราะเนื้อหาเยอะมากๆ รวมทุกหัวข้อแล้วน่าจะเกือบ 2,000 หน้า ผมจะเลือกเฉพาะหัวข้อที่น่าสนใจครับ สำหรับ E-book เล่มนี้ ผู้เขียนเป็นคนเดียวกันกับที่เขียน The importance of Exit Strategy

ภาพของผู้แต่ง (Lance Beggs) อันหล่อเหลานะครับ, เป็นอดีตนายทหาร นักบินขับ ฮ. และผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยทางด้านการบิน, เขาใช้ความรู้เรื่อง Human Factor, Risk Management, Crew Resource Management ประยุกต์ใช้กับการเทรด, ปัจจุบันเป็นเทรดเดอร์ และเจ้าของ www.YourTradingCoach.com

Part 1 : สิ้นสุดแนวโน้มอ่อนแอ - Fading Weakness 

แนวโน้มราคาในอนาคต จะเคลื่อนที่ตามแนวโน้มที่แข็งแรง และสวนทางกับแนวโน้มที่อ่อนแอ เราจึงเทรดตามทิศทางนี้เท่านั้น

  • เทรดตามแนวโน้มที่แข็งแรง และเทรดสวนแนวโน้มที่อ่อนแอ เราไม่ได้พยายามหาแนวโน้มที่แข็งแรง แล้วกระโจนเข้าตลาด เพราะโดยทั่วไปแล้ว มันช้าเกินไปที่จะเป็น “จุดเข้าที่ดี” แทนที่จะทำแบบนั้น เราแนะนำให้หาแนวโน้มที่อ่อนแอแทน แล้วเข้าสวนทางในจุดที่กำลังจะสิ้นสุดแนวโน้มอ่อนแรงนั้น ก่อนที่ราคาจะกลับไปสู่แนวโน้มที่แข็งแรงอีกครั้ง

จุดนี้เป็นจุดที่เทรดเดอร์ผู้ที่เทรดตามแนวโน้มอ่อนแรง รู้ตัวแล้วว่า “เข้าผิดทาง” และถูกบังคับให้ออกจากตลาด ไม่ว่าจะโดยสมัครใจ (ยอมปิดขาดทุน) หรือไม่ก็ไปถึงจุดตัดขาดทุน (SL) เราจะใช้การวิเคราะห์เพื่อหา “จังหวะเข้า”โดยเราสามารถหาแนวโน้มที่อ่อนแอได้จากเงื่อนไขเหล่านี้

  • การดูแนวรับ/แนวต้าน (แนวรับ/แนวต้าน ของไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า ช่วงกว้างของแนวรับ/แนวต้าน การสวิงของราคาสูงสุด/ต่ำสุด) และการพักตัวของแนวโน้ม

          - เทรดเดอร์ที่เข้าออเดอร์ในทิศทางเดียวกับแนวโน้มที่อ่อนแอ และอยู่บริเวณแนวรับ/แนวต้าน เป็นจุดที่ไม่น่าเทรด การพยายามเข้าเทรดบริเวณนี้เหมือนส่งทหารไปตาย

          - เทรดเดอร์ที่เข้าออเดอร์ในการเบรคเอ้าท์ของแนวโน้มอ่อนแอ เป็นจุดที่ไม่น่าเทรดเช่นกัน การเบรคเอ้าท์ก็ดูเหมือนจะไม่สำเร็จ

          - เทรดเดอร์ที่คิดว่าการเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ เพราะการพักตัวกลับมาแรงเหมือนแนวโน้มใหม่ไม่แข็งแรง มักจะพลาดโอกาส เพราะเมื่อจบการพักตัว ราคาจะไปต่อตามทิศทางที่เบรคเอ้าท์

เทรดเดอร์ที่พยายามหาจุดกลับตัว โดยเข้าสวนทางกับแนวโน้มในจุดที่มีการพักตัว เป็นจุดที่ไม่น่าเทรด เพราะการพักตัวดังกล่าว จะนำไปสู่แนวโน้มแข็งแรงที่เดินทางไปต่อ

#เทรด #forex #สอนforx #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี

แผนภูมิที่ 4.2 ระบุแนวโน้มที่อ่อนแอ

มีหลักสูตรการสอนเรื่องพฤติกรรมราคา ที่สอนให้ใช้กลยุทธ์เล่นสวนตลาด คุณคงเคยได้ยินเรื่องการเทรดสวนทาง มันหมายถึงการคิดสวนทางกับคนหมู่มาก และหลายๆ ครั้ง มันถูกยกมาเป็นตัวอย่างของความสำเร็จ ผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นเทรด จึงเข้าใจว่า การประสบความสำเร็จเป็นเรื่องง่ายๆ แค่การเทรดสวนทางกับตลาดก็พอ นี่ไม่ใช่แนวทางการเทรดสวนตลาดที่ถูกต้อง มันเป็นเรื่องที่โง่สิ้นดี หนทางที่จะประสบความสำเร็จจากการเทรดสวนตลาดนั้น ต้องเลือกจังหวะ อย่าทำเป็นตาบอดแล้วเข้าซื้อ-ขายทุกครั้งที่ตลาดเคลื่อนไหว ให้รอเวลาที่คนส่วนใหญ่เข้าซื้อ-ขายในจุดที่ไม่ควรเทรดแล้ว เราจะเลือกเมื่อการเคลื่อนไหวของราคาเริ่มอ่อนแรงลง และเล็งไปยังจุดที่ราคาต้านแนวโน้มที่แข็งแรงกว่าไม่ไหวแล้ว

เมื่อผู้ติดกับดักกำลังจะตาย - Fading Trapped Traders

อีกหนึ่งแนวทางในการมองหาจุดสิ้นสุดแนวโน้มที่อ่อนแอ ซึ่งยังคงใช้หลักคิดเดียวกัน คือการเทรดสวนทางกับคนที่ติดกับดักเราจะมองหาจุดที่เทรดเดอร์คนอื่นๆ กำลังต่อสู้กับแนวโน้มที่แข็งแรงในกราฟ เราจะระบุบริเวณที่พวกเขากำลังติดกับ (หรือมีแนวโน้มที่จะมาติดกับ) และเริ่มขาดทุน จนกระทั่งรู้ตัวว่าผิดทาง และถูกบังคับให้ออกจากตลาด เราเรียกคนเหล่านี้ว่า แมงเม่า แนวคิดเรื่องที่เหล่าแมงเม่ามาติดกับนี้สำคัญต่อกลยุทธ์นี้มาก และคุณควรจะนึกถึงมันเสมอตลอดการเทรด ให้ระวังการเทรดที่อาจอยู่ในตำแหน่งที่ติดกับดัก  คุณคงเข้าใจความรู้สึกดี เราทุกคนเคยเทรดแบบนั้น ให้จดจำตอนที่เราเข้าเทรดเมื่อมีการเบรคเอ้าท์ที่ดูจะสมบูรณ์แบบแต่กลับกลายเป็นการกลับตัวแล้วย้อนไปเลยจุดเข้า ทำให้คุณขาดทุน และไม่มีโอกาสกลับมาทำกำไร อาการตกใจที่คุณเห็นราคาบีบบังคับให้คุณยอมตัดขาดทุน คุณมักถือไว้เพียงหวังว่ามันจะกลับมา แต่แล้วแทบจะทุกครั้งที่มันมักจะไปแล้วไปลับ เป็นจุดจบที่ไม่มีทางเลี่ยงแมงเม่าที่ติดกับดัก จะเห็นได้จากกราฟในหลายรูปแบบ คุณจะเห็นพวกเขาในกราฟตัวอย่างของหลักสูตรสอนเทรดต่างๆ

- เพื่อแสดงให้เห็นแนวคิดดังกล่าว เรามีตัวอย่าง 2 แบบ ดังแสดงในแผนภูมิที่ 4.3

ทางด้านซ้าย เราเห็นตลาดที่เป็นแนวโน้มขาขึ้นที่แสดงอาการของตลาดกระทิงอย่างชัดเจน มีการพักตัวที่เกิดอาการของตลาดหมี สวนทางกับแนวโน้ม (เกิดแท่งเทียนสีแดงขนาดใหญ่ปิดต่ำกว่า) ตามด้วยการเบรคเอ้าท์แนวรับลงด้านล่างเป็นสวิงโลว์ใหม่ เทรดเดอร์ที่จับการกลับตัวจะเข้า Short บริเวณนี้

แต่เหตุการณ์ไม่เป็นดังคาด แท่งที่เบรคเอ้าท์กลับปิดที่ครึ่งแท่ง (เมื่อเทียบกับไส้เทียน) โมเมนตั้มของตลาดไม่ได้เทไปทางการขาย กรณีนี้ตามมาด้วยแท่งเขียวที่ปิดสูงกว่าราคาปิดของแท่งก่อนหน้า ยังไม่มีสัญญาณใดๆ ที่บอกว่าจะลงต่อ! จากนั้นคนที่ Short ก็จะติดกับดักของตลาด ด้วยแท่งเขียวขนาดใหญ่สวนขึ้นไป (แท่งเขียวตันไม่มีไส้) แท่งนี้มักจะกินสต๊อปลอสของคนที่ Short ให้ออกจากตลาดไป และราคาก็ขึ้นไปทำนิวไฮ

แผนภูมิที่ 4.3 แมงเม่าติดกับ

ทางด้านขวาเป็นสถานการณ์ที่ต่างกัน ตลาดอยู่ในสภาวะหมีและราคาได้เบรคเอ้าท์ลงด้านล่างในบริเวณที่สะสมแรง แล้วค่อยๆ ไต่กลับขึ้นมาถึงจุดที่เบรคเอ้าท์  แมงเม่าที่พยายามขี่กระทิง จะเข้าซื้อในจังหวะที่สายไป จนราคาเข้าไปถึงแนวต้าน เป็นการเข้าเทรดที่ไม่ดีนัก เหมือนกับเข้าไปลั่นสลักกับดักด้วยตัวเอง แมงเม่าเหล่านี้เองที่มักจะเสียค่าโง่ ตลาดที่ทะยานเริ่มหยุด และหันหัวกลับ แท่งสีแดงขนาดใหญ่เปรียบเหมือนตะปูตอกฝาโลงของแมงเม่าที่เข้าซื้อไปเมื่อสักครู่ ต้องสต๊อปลอสไปตามระเบียบ
ยังมีแมงเม่าติดกับดักอื่นในตัวอย่างนี้อีก ลองพิจารณาถึงพวกที่ซื้อในบริเวณที่เป็นแนวต้านก่อนที่จะมีการเบรคเอ้าท์ลงมา พวกเขาจะต้องเผชิญกับการขาดทุน เกิดความเครียด และหมดหวัง พวกเขาถือรอให้ราคาย้อนกลับมายังจุดที่เบรคเอ้าท์ ความหวังเริ่มบังเกิดเมื่อราคาย้อนกลับมาจริงๆ ถ้าพวกเขาฉลาด เขาจะขาดทุนเพียงเล็กน้อย แต่คนส่วนใหญ่ไม่ได้คิดแบบนั้น เขาถือรอและหวังว่าราคาจะขึ้นไปทะลุแนวต้านจนมีกำไร พวกเขาจะโดนตลาดทำโทษอีกครั้ง เมื่อราคาไม่ผ่านแนวต้านและกลับลงไป เหล่าแมงเม่าทำได้เพียงโทษตัวเอง โทษตลาด ว่าไม่เป็นไปอย่างที่พวกเขาคิด

ตอนนี้คุณเห็นแล้วใช่มั้ยว่าตัวอย่างนี้ มี 2 กรณีของการติดกับดัก เมื่อซื้อทั้งตอนที่เบรคเอ้าท์ครั้งแรก และตอนที่ตกรถแล้วพยายามตาม ไม่ว่าคุณจะมองกับดักอันไหน ในหนังสือเล่มนี้ หรือในการเทรดของคุณ ขอให้มองหาจุดที่แมงเม่าเข้าไป ระบุให้ได้ แล้วเทรดตรงข้ามกับพวกเขา ทำตัวเป็นส่วนหนึ่งของกับดักแล้วคุณจะปลอดภัย แมงเม่าเหล่านี้ช่วยให้คุณรู้จักหลบหลีก คุณควรจะขอบคุณพวกเขา  นี่คือสิ่งสำคัญก่อนที่เราจะเข้าสู่บทต่อไป...

อย่าเข้าไปติดกับให้มองหากับดัก สิ่งที่สำคัญที่สุดในการวิเคราะห์ตลาดคือตระหนักอยู่เสมอว่าโครงสร้างตลาดเป็นอย่างไร และให้เข้าใจอารมณ์ของตลาดว่าจะไปทางไหน ตระหนักถึงสถานการณ์ และกับดักที่ปรากฏตรงหน้าคุณ รูปแบบของแมงเม่าที่ติดกับดักจะแสดงให้คุณเห็น  การมองหาแต่กับดักจะทำให้คุณลืมนึกถึงภาพรวมของตลาด จะกลายเป็นว่าคุณมองหากับดักและเข้าไปติดกับดักเอง รวมทั้งเทรดในจังหวะที่เสียเปรียบเมื่อพิจารณาในไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า แทนที่จะเห็นแมงเม่าติดกับดัก คุณจะกลายเป็นหนึ่งในแมงเม่าเสียเอง

แผนภูมิที่ 4.4 แสดงตัวอย่างที่ว่า ลองดูกราฟทางซ้าย มันง่ายที่จะคิดว่าเราเห็นกับดักของการขายแล้ว ราคาเคลื่อนลงไปยังจุดที่เป็นเลขตัวกลม 1.5100 และมีแนวรับ มีแรงกดดันให้ซื้อเข้ามา คุณคิดว่าพวกที่ short ช้าจะต้องติดกับดักเมื่อราคาเบรคเอ้าท์แน่ และตัดสินใจวาง buy stop เหนือจุดสูงสุดของแท่งเขียว เพื่อจะได้เข้าสวยๆ

แผนภูมิ 4.4 - รูปแบบกับดักที่ผิดพลาด เนื่องจากการวิเคราะห์ตลาดไม่ถูก

กราฟทางด้านขวาแสดงให้เห็นถึงการแพ้อย่างรวดเร็ว เมื่อเราไปติดกับดักเสียเอง การวิเคราะห์ตลาดที่ผิดพลาด
 (1) แนวโน้มขาลงที่แข็งแรง (2) และข้อเท็จจริงที่ว่า 1.5100 ไม่ใช่แนวรับที่มีนัยยะ (ไม่ได้มีแนวรับ/แนวต้านเดิม หรือยอดเก่า/เหวเดิม)

การเทรดนี้ไม่เข้าเงื่อนไขของการเทรดตามแนวโน้มที่แข็งแรง และเทรดสวนแนวโน้มที่อ่อนแอ

โดยทั่วไป ผมจะเทรดพลาดแบบนี้เมื่อไม่มีสมาธิ สภาวะที่ผมถูกดึงความสนใจไปที่อื่นได้ง่าย และหันมาเห็นกราฟในจังหวะที่กราฟมาหยุดที่ 1.5100 และมีจังหวะเข้าซื้อ การรีบร้อนแบบนี้โดยไม่ได้หยุดแล้ววิเคราะห์ก่อน การขาดวินัยนำไปสู่การเสียเงินเสมอ

เมื่อคุณคิดจะเข้าเทรดในบริเวณนี้? ทำไมไม่หยุดรอให้ตลาดกลับตัวจริงๆ แล้วกลับไปทดสอบไม่ผ่าน? จากนั้นค่อยเทรดเมื่อตลาดยืนยันแล้วว่า ดีมานด์/ซัพพลาย ไม่สมดุลย์กัน และเทรดสวนแนวโน้มที่อ่อนแอ ไม่ต้องรีบเข้าเทรด ระบุแนวโน้มที่อ่อนแอก่อน มองหาแมงเม่าติดกับดักก่อน เมื่อสิ้นสุดแนวโน้มที่อ่อนแอแล้วค่อยเข้าตลาดโดยเป็นส่วนหนึ่งของกับดัก

หลักการที่สำคัญที่สุดในการมองหาจังหวะเข้าเทรด คือ... ตระหนักอยู่เสมอว่าโครงสร้างตลาดเป็นอย่างไร และแนวโน้มในอนาคตจะไปทางไหน

#เทรด #forex #สอนforex #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี

Part 2 : การศึกษาพฤติกรรมราคาที่เป็นกับดัก

โอกาสของเราจะอยู่บริเวณ แนวรับ/แนวต้าน (แนวรับ/แนวต้านในไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า, ช่วงกว้างของแนวรับ/แนวต้าน, สวิงไฮ/สวิงโลว์) และการพักตัวของแนวโน้ม เราจะระบุบริเวณเหล่านี้ได้จากการอ่อนแรงของราคา และเหล่าแมงเม่าที่ไปติดกับดัก เรามาเริ่มกันด้วยการเรียนรู้ถึงรูปแบบต่างๆ ของ "การจัดฉาก" จากนั้นจึงค่อยตัดสินใจ ว่าเราจะทำอย่างไรในสภาวะตลาดเช่นนั้น ยังไม่ต้องกังวลเรื่องการเข้า/ออกออเดอร์ - แค่ระบุให้ได้ว่าจุดใดคือพื้นที่ที่ถูกจัดฉากก็พอ

1 - ความหมายของการจัดฉาก การจัดฉากมีด้วยกัน 5 รูปแบบหลัก

มี 3 แบบ ที่ราคามีปฏิกิริยาเมื่อมาถึงแนวรับ/แนวต้าน :

1)      TST (test) - เป็นกรณีที่ราคาทดสอบแนวรับ/แนวต้านไม่ผ่าน

2)      BOF (breakout failure) - เป็นกรณีที่เบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ เมื่อราคามาถึงแนวรับ/แนวต้าน และเกิดการกลับตัว

3)      BPB (breakout pullback) - เป็นกรณีที่เบรคเอ้าท์ไปแล้วพักตัว เมื่อราคามาถึงแนวรับ/แนวต้าน และเริ่มไม่ไปไหน

และอีก 2 แบบ ที่มีปฏิกิริยากับเทรนด์ :

4)      PB (pullback หรือ single-leg) - คือการที่มีการพักตัวในแท่งเทียนแท่งเดียว ในระหว่างเป็นเทรนด์ (ราคาขึ้นและลงในแท่งเดียว)

5)      CPB (complex pullback) - คือการพักตัวที่มีความซับซ้อนกว่า มีการสวิงกลับหลายครั้ง หรือนานขึ้น เป็นการพักตัวในช่วงที่มีเทรนด์

TST setup : TST เป็นการที่ราคาทดสอบแนวรับ/แนวต้านไม่ผ่าน

แนวรับ/แนวต้าน ควรจะมองจากไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า หรือเป็นราคาสูงสุดและต่ำสุด ของช่วงที่ราคาเป็นไซด์เวย์ มันอาจจะเป็นสวิงไฮ หรือสวิงโลว์ ของไทม์เฟรมที่คุณเทรดก็ได้ หากมันเป็นช่วงสภาวะตลาดไซด์เวย์ ทำให้สามารถเล่นสวนตลาดได้สั้นๆ ในจุดที่เกิดการพักตัว (ซึ่งอาจจะโชคดี เป็นจุดกลับตัวพอดีก็ได้) อย่างไรก็ดี มันก็ยังไม่ถือว่าเป็นจุดเข้าที่ดีนัก

ด้วยหลักการมองหาแนวโน้มในอนาคตของเรา จะชี้ให้เห็นบริเวณที่เป็นแนวรับ/แนวต้าน ซึ่งเราจะอนุมานได้ว่าบริเวณนั้นเป็น TST เราจะเข้าเทรดก็ต่อเมื่ออัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทนมีความคุ้มค่า (Risk Reward, R:R) และจะเข้าซื้อ-ขาย ในบริเวณแนวรับ/แนวต้าน

แผนภูมิที่ 4.5 - Test Setup (TST) การทดสอบไม่ผ่าน

รูปแบบนี้ โดยทั่วไปแล้ว จะแสดงให้เห็นถึงอาการอ่อนแรง เมื่อเข้าสู่แนวรับ/แนวต้าน รวมทั้งเคลื่อนไหวเกินเข้าไปในบริเวณแนวรับ/แนวต้านอีกด้วย เทรดเดอร์ที่เข้าออเดอร์ในจังหวะที่ช้าเกินไป สถานการณ์อาจจะไม่ค่อยดีนัก และอาจจะติดกับดักเมื่อราคาย้อนกลับไป การกลับตัวนี้จะทำให้พวกเขาต้องตัดใจปิดออเดอร์ เลยทำให้เป็นการเพิ่มแรงในทิศทางตรงกันข้าม เราจะเข้าเทรดเมื่อเกิดการเสริมแรงนี้ และทำกำไรจากเหล่าแมงเม่าที่ติดกับดักต้องออกจากตลาด

แผนภูมิที่ 4.6 (ด้านล่าง) แสดงกราฟตัวอย่างของ TST ที่เกิดจากแนวต้านของไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า (30นาที)

แผนภูมิที่ 4.6แสดงกราฟตัวอย่างของ TST ที่เกิดจากแนวต้าน

เมื่อราคามาถึงแนวต้าน เราจะเห็นสัญญาณเตือนว่าจะทดสอบไม่ผ่าน เราจึงมาวิเคราะห์อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทนก่อน แล้วจึงตัดสินใจเข้าเทรดภายหลัง ตอนนี้เราแค่ระบุให้ได้ว่า นี่เป็นกับดัก หากสังเกตดู จะเห็นว่า ราคาไปไม่ถึงเส้นแนวต้าน ให้คิดเสมอว่าแนวรับ/แนวต้าน เป็นพื้นที่ หรือบริเวณ ไม่ใช่เส้น เส้นที่เราลาก เป็นเพียงแค่ตัวแทนของแนวรับ/แนวต้าน ให้มองพื้นที่บริเวณนั้นด้วยว่ามีนัยยะสำคัญอย่างไร

แผนภูมิที่ 4.7 (ด้านล่าง) แสดงกราฟตัวอย่างของ TST ที่เกิดจากแนวรับของไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า (30 นาที)

เช่นเดียวกับเมื่อกี้ ที่ราคาไปถึงบริเวณที่เป็นแนวรับ เราจะเห็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นถึงโอกาสที่จะทดสอบไม่ผ่าน เราจะเทรดก็ต่อเมื่อมีอัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทนที่เหมาะสมเท่านั้น จึงจะเข้าเทรด

ในกรณีนี้มีการทดสอบเกิดขึ้นถึง 2 ครั้ง นั่นหมายถึงโอกาสเข้าเทรด 2 ครั้งเช่นกัน

แผนภูมิที่ 4.7 - TST ที่เกิดจากแนวรับ

BOF Setup : BOF คือการเบรคเอ้าท์จากแนวรับ/แนวต้านไม่สำเร็จ

แนวรับหรือแนวต้าน ต้องมาจากไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า หรือราคาขอบบนและขอบล่างของช่วงไซด์เวย์ ในแนวโน้มที่อ่อนแอ เอื้อให้เราสามารถเทรดสวนเทรนด์หลังการเกิดสวิงไฮ สวิงโลว์ได้ (อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงเป็นจังหวะที่ไม่น่าเข้า)

จากหลักการของการหาแนวโน้มในอนาคต จะทำให้เราเห็นโอกาสของการเบรคเอ้าท์บริเวณแนวรับ/แนวต้าน เราจะเฝ้าดูพฤติกรรมราคาเมื่อเบรคเอ้าท์ว่ามีอาการของเทรนด์ที่อ่อนแรงหรือไม่ การเบรคเอ้าท์ที่ไม่แข็งแรง จะบอกเราว่ามีโอกาสเกิด BOF เราจะเทรดก็ต่อเมื่อมีอัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทนที่เหมาะสมเท่านั้น จึงจะเข้าเทรด

แผนภูมิที่ 4.8 แสดงตัวอย่างของ BOF ทั้งที่เบรคเอ้าท์แนวรับไม่ผ่าน และเบรคเอ้าท์แนวต้านไม่ผ่าน

จังหวะของการเบรคทะลุแนวรับ/แนวต้านแบบนี้ ดึงดูดเทรดเดอร์ให้เข้าออเดอร์ แต่การเบรคเอ้าท์นี้ก็ยังมีแรงซื้อ-ขายไม่พอที่จะทำให้ทิศทางของราคาไปต่อได้ และแสดงอาการอ่อนแรงลง เทรดเดอร์ที่เข้าตรงจุดนี้จะติดกับดัก การเบรคแนวรับ/แนวต้านเดิมไม่สำเร็จ ทำให้พวกเขาต้องขายทิ้งหรือสต๊อปเอ้าท์ ทำให้เกิดแรงในทิศทางตรงกันข้ามกับการเบรคเอ้าท์ เรามองหาจังหวะที่เบรคไม่สำเร็จนี้แล้วราคากลับไปบริเวณแนวรับ/แนวต้านอีกครั้ง

มีคนถามเสมอว่า "ต้องรอให้เกิดแท่งเทียนกี่แท่ง ถึงจะยืนยันได้ว่าการเบรคเอ้าท์นั้นสำเร็จหรือไม่?"

คำตอบคือ ไม่มีจำนวนที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับว่าพอใจที่กำไรเท่าไหร่ และจากการตัดสินใจของเทรดเดอร์ที่เข้าตอนเบรคเอ้าท์ ว่ามุมมองของพวกเขาต่อตลาดเป็นอย่างไร การเคลื่อนไหวของราคาทำให้พวกเขากลัว แล้วตัดสินใจขายทิ้งหรือไม่? ถ้าเป็นอย่างนั้น BOF ก็อาจจะเกิดขึ้นได้ นั่นถึงจะตอบได้ว่าต้องรอให้เกิดแท่งเทียนกี่แท่ง

จากตัวอย่าง จะเห็นความพยายามถึง 2 ครั้ง หลังจากการเบรคเอ้าท์ เมื่อครั้งที่ 2 ไม่สำเร็จ จะมีอะไรดีไปกว่าการเข้าเทรดฝั่งตรงกันข้าม ถ้าหลังการเบรคเอ้าท์ ผมเห็นหลายครั้งแล้วไม่ผ่าน ผมคงจะตัดสินใจเข้าด้วย BOF อย่างไรก็ดี ตามที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น ผมพอจะบอกได้ว่ามีน้อยครั้งที่การยืนยันนั้นจะเกิน 3-5 แท่งเทียน เข้าเร็วก็มีโอกาสดีกว่า!

แผนภูมิที่ 4.8 - การเบรคเอ้าท์ไม่ผ่าน (BOF)

แผนภูมิที่ 4.9 (ด้านล่าง) แสดง BOF เกิดที่แนวต้าน

แผนภูมิที่ 4.9  - การเบรคเอ้าท์ไม่ผ่าน (BOF) ที่แนวต้าน

ตัวอย่างนี้ การเบรคเอ้าท์หลังตลาดอยู่ในสภาวะไซด์เวย์ก่อนการออกข่าวนอน-ฟาร์ม (non-farm payroll - NFP) ซึ่งเป็นข่าวเศรษฐกิจประจำเดือน ราคาจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และรุนแรง

ดังนั้น การเบรคเอ้าท์จะเป็นไปได้สูง เมื่อเราดูการเบรคเอ้าท์ เราจะเห็นราคาสูญเสียกำลังอย่างรวดเร็วเมื่อผ่านบริเวณแนวต้าน นี่เป็นสัญญาณของการอ่อนแรง ถ้าเป็นการเบรคเอ้าท์ที่ทรงพลัง ราคาจะต้องไปต่อ เมื่อวิเคราะห์จากอัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทนที่เหมาะสม เราจึงเข้าเทรด

บันทึก : ให้ระวังข่าวที่มีผลกระทบรุนแรง ผมแนะนำให้รอจนสภาวะตลาดกลับเป็นปกติ ในกรณีนี้คือ 6 นาทีหลังข่าวออก และราคาผันผวนก่อนหน้านี้ได้หยุดลง

แผนภูมิที่ 4.10  - การเบรคเอ้าท์ไม่ผ่าน (BOF) ที่แนวรับ

แผนภูมิที่ 4.10 ด้านบน แสดงการเบรคเอ้าท์แนวรับไม่ผ่าน ราคาค่อยๆ เคลื่อนไหวช้าๆ เข้าเขตแนวรับ เราคอยสังเกตโอกาสที่จะเกิด TST

คุณคงเห็นแล้วว่า การทดสอบแนวรับทั้ง 2 ครั้ง ไม่ผ่าน แต่ไม่ได้ทำนิวไฮ นี่ช่วยยืนยันว่าตลาดกระทิงยังอ่อนแอ ในขณะที่ตลาดหมีขาลงก็ไม่มีทีท่าว่าจะแข็งแรงขึ้นเช่นกัน การทดสอบไม่ผ่านนี้ ก็ใช้ระยะเวลายาวนานขึ้น แต่ดูท่าแนวโน้มขาลงก็มีกำลังมากกว่านิดหน่อย เรายังคงรอสัญญาณการเบรคเอ้าท์ที่อ่อนแอหลังจากที่ได้เบรคเอ้าท์เข้ามาแล้ว

ในกรณีนี้ การเบรคเอ้าท์มีกำลังไม่พอที่จะเป็นขาลง คนที่ short ก็จะติดกับดัก และต้องออกจากตลาด หากราคาเบรคกลับขึ้นมาเหนือแนวรับ

#เทรด #forex #สอนforex #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี

Part 3 : BPB Setup - กับดักการพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์

การพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ (BPB) เป็นการเบรคเอ้าท์จากแนวรับ หรือแนวต้าน ที่แสดงให้เห็นว่าราคาทะลุไปเรียบร้อยแล้ว และไปหยุดอยู่เหนือจุดที่เบรคเอ้าท์ ก่อนที่จะอ่อนแรง และพักตัวลงมา แนวรับ/แนวต้าน ควรจะมองจากไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า หรือเป็นราคาสูงสุด และต่ำสุด ของช่วงที่ราคาเป็นไซด์เวย์

ด้วยหลักการมองหาแนวโน้มในอนาคตของเรา จะชี้ให้เห็นบริเวณที่เป็นไปได้ว่ามีการเบรคเอ้าท์จากแนวรับ/แนวต้าน เราเฝ้าสังเกตพฤติกรรมราคาของการเบรคเอ้าท์ทุกครั้ง เพื่อมองหาสัญญาณที่บ่งบอกถึงการอ่อนแรง การอ่อนแรงของการเบรคเอ้าท์อาจจะบอกว่าเป็น BOF (การเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ)หรือการอ่อนแรงนั้นอาจจะเป็น BPB (การพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์) ก็ได้ เราจะเข้าเทรดก็ต่อเมื่ออัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทนมีความคุ้มค่า (Risk Reward, R:R) และจะเข้าซื้อ-ขาย ในราคาที่เหมาะสม

แผนภูมิที่ 4.11 แสดงให้เห็นถึงไดอะแกรมของการพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ (BPB) ทั้งแนวรับ และแนวต้าน

กรณีแบบนี้ เกิดจากการที่เทรดเดอร์มากมายเทขายหลังการเบรคเอ้าท์ เพราะคิดว่าเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ แต่ถ้าคนส่วนใหญ่ไม่ได้คิดแบบนั้น การพักตัวก็จะอ่อนแรง และหยุดลง ในเมื่อมันไม่เกิดการเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ (BOF) มันก็กลายเป็นการพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ (BPB) แทน (BOF ไม่สำเร็จ = BPB)

เทรดเดอร์ที่เทรดเพราะคิดว่าเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ จะติดกับดักเมื่อการเบรคเอ้าท์นั้นไปต่อ เมื่อพวกเขาออกจากตลาดจะกลายเป็นแรงส่งให้การเบรคเอ้าท์นั้นไปทำนิวไฮ หรือนิวโลว์ได้

บันทึก: การเข้าด้วยสัญญาณ BOF ก่อนที่จะกลับตัวทะลุแนวรับ/แนวต้าน ค่อนข้างเสี่ยง ต้องคอยสังเกตอาการอ่อนแรง และเตรียมพร้อมที่จะตัดสินใจเปลี่ยนทิศทางเมื่อมีโอกาสเกิด BPB

แผนภูมิที่ 4.11 - การพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์(BPB)

แผนภูมิที่ 4.12 (ด้านล่าง) แสดงโอกาส 2 ครั้ง ของการพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์

ครั้งแรก เกิดขึ้น 10 นาที หลังการเบรคเอ้าท์ ราคาแสดงให้เห็นการอ่อนแรงของการเบรคเอ้าท์ และดูเหมือนเป็นโอกาสที่จะเกิด BOFการพักตัวกลับมาก็ไม่แข็งแรงพอ ดังที่เราได้กล่าวไปแล้วว่า เมื่อ BOF ไม่สำเร็จ มันก็คือการเกิด BPB การคัต BOF ที่ผิดพลาดทิ้งเพียงเล็กน้อย ก็สามารถได้กำไรคืนนิดหน่อยจาก BPB

แผนภูมิที่ 4.12 - BPB - แนวรับกลายเป็นแนวต้าน

การเกิด BPB ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นหลังจากนั้นประมาณครึ่งชั่วโมงหลังการเบรคเอ้าท์ ซึ่งแสดงให้เห็นความพยายามฝ่าแนวต้านที่มากขึ้น สังเกตจากเข็มที่สูงขึ้นไปกว่าแนวต้าน แต่ก็ไม่ผ่าน BPB ครั้งนี้แสดงให้เห็นโอกาสที่สูงขึ้น (เมื่ออัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทนมีความคุ้มค่า และราคาเหมาะสม)

แผนภูมิที่ 4.13 (ด้านล่าง) แสดงการเบรคเอ้าท์ที่เกิด BOF สั้นๆ แล้วเปลี่ยนกลับมาเป็น BPB อย่างรวดเร็ว

แผนภูมิที่ 4.13- BPB แนวรับกลายเป็นแนวต้าน

PB Setup การพักตัวแบบไม่ซับซ้อน

PB (pullback หรือ single-leg) - คือการที่มีการพักตัวในแท่งเทียนแท่งเดียว

ด้วยหลักการมองหาแนวโน้มในอนาคตของเรา จะชี้ให้เห็นถึงโอกาสที่ราคาจะไปต่อตามเทรนด์เดิม เราเฝ้าสังเกตพฤติกรรมราคาของการพักตัวที่บ่งบอกถึงการอ่อนแรง การอ่อนแรงของการพักตัวจะบอกว่า มีโอกาสที่จะเกิด PB ได้ เราจะเข้าเทรดก็ต่อเมื่ออัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทนมีความคุ้มค่า (Risk Reward, R:R) และจะเข้าซื้อ-ขาย ในราคาที่เหมาะสม

แผนภูมิที่ 4.14 (ด้านล่าง) แสดงไดอะแกรมของการเกิด PB ระหว่างเทรนด์

การเกิดกรณีแบบนี้ เนื่องจากเทรดเดอร์มากมายคิดว่านี่เป็นจุดกลับตัว ในขณะที่ใครๆ ก็พูดว่า "the trend is your friend" (เทรนด์เป็นเพื่อนที่ดีของคุณ)แต่ธรรมชาติของคนก็มักจะเล่นสวน เทรนด์เสมอ

แผนภูมิที่ 4.14 - การเกิด PB

ในความเป็นจริงตลาดมีทิศทางการเคลื่อนไหวตามแนวโน้มที่แข็งแรง และสวนทางกับแนวโน้มที่อ่อนแอ เราสังเกตการพักตัวที่อ่อนแรง เมื่อการพักตัวนั้นจบลง คนที่เทรดสวนเทรนด์ก็มักจะติดกับ และถูกบังคับให้ออกจากตลาด เป็นการเสริมแรงให้การเทรดด้วย PB ของเราได้กำไร

ในขณะที่การพักตัวจะจบตรงไหนก็ได้ เราจะสังเกตพฤติกรรมราคาว่ามีสวิงไฮ สวิงโลว์ ก่อนหน้านั้นบริเวณใด บริเวณเหล่านั้นเป็นจุดที่มีนัยยะสำคัญ และสามารถบอกได้ว่า การพักตัวนั้นแข็งแรงหรือไม่ และใช้เวลานานเท่าไหร่ ดังแสดงในแผนภูมิที่ 4.15 ด้านล่างนี้

ไม่ได้หมายความว่าบริเวณนี้เท่านั้นที่เราคาดว่าจะสิ้นสุดการพักตัว และควรเข้าเทรด แต่ให้มองง่ายกว่านั้น คือดูว่าราคามีพฤติกรรมแบบไหนจากสวิงไฮ/สวิงโลว์นี้เพื่อมองหาสัญญาณที่บ่งบอกว่าราคาจะไปต่อ

เมื่อวิเคราะห์จากแท่งเทียนทีละแท่ง พฤติกรรมราคาแบบนี้บ่งบอกว่าการพักตัวกำลังจะสิ้นสุด และเมื่อไปดูไทม์เฟรมที่เล็กกว่า จะสามารถหาจังหวะเข้าก่อนที่จะเกิดสวิงไฮ/สวิงโลว์ได้

แผนภูมิที่ 4.15 - บริเวณที่สิ้นสุดการพักตัว

แผนภูมิที่ 4.16 ด้านล่างแสดงตัวอย่างกราฟที่เกิด PB ในแนวโน้มขาลง

แผนภูมิที่ 4.16 - PB การพักตัวในแนวโน้มขาลง

สังเกตว่า การพักตัวทั้ง 2 ครั้ง ในจุด A และ B เป็นการพักตัวแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน กรณีแบบนี้บ่งบอกถึงแนวโน้มที่จะลงต่อ

การพักตัวที่จุด A ไปถึงสวิงโลว์เดิม ซึ่งเคยเป็นแนวรับ แต่ตอนนี้กลายเป็นแนวต้าน ก่อนที่ราคาจะหยุดแล้วลงมาอีกครั้ง การหยุดของราคาบอกชัดเจนว่าการพักตัวนั้นไม่แข็งแรงพอ

ในทำนองเดียวกัน จุด B ก็มีการหยุดของราคา ก่อนที่จะลงต่อ แต่ครั้งนี้การพักตัวจะไปถึงแค่สวิงไฮของครั้งที่แล้ว (จำไว้ว่าสวิงไฮที่ว่าไม่ได้เป็นเส้น แต่เป็นบริเวณ ในกรณีนี้ การพักตัวกลับไปต่ำกว่าสวิงไฮ)

แผนภูมิที่ 4.17 - PB การพักตัวในแนวโน้มขาขึ้น

ในแผนภูมิที่ 4.17 เราจะเห็นการพักตัวที่จุด C ที่ราคาเริ่มหยุดที่บริเวณ D

จากนั้นการพักตัวที่จุด E ราคาเริ่มหยุดที่บริเวณสวิงไฮ G เท่ากับจุด F ที่เคยเบรคเอ้าท์ขึ้นไปได้ ซึ่งเป็นการยืนยันชัดเจนว่า ดีมานด์กับซัพพลายไม่สมดุลกัน บริเวณใดก็ตามที่ราคามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การหาแนวรับ/แนวต้านในอนาคต ก็คือจุดที่ราคาย้อนกลับมาหานั่นเอง

CPB Setup การพักตัวที่ซับซ้อนกว่า

CPB (complex pullback) - คือการพักตัวที่มีความซับซ้อนกว่า เป็นการพักตัวในช่วงที่มีแนวโน้มชัดเจน มีการสวิงกลับหลายครั้ง หรือนานขึ้น

เมื่อเรากำลังหาแนวโน้มที่อ่อนแอ ตามหลักการของการหาแนวโน้มในอนาคต การพักตัวที่มีความซับซ้อน คือสิ่งที่เรามองหา ไม่ใช่การพักตัวแบบง่ายๆ เพื่อไปต่อ เราจะเห็นสัญญาณของมีการสวิงกลับหลายครั้ง หรือนานขึ้น หรือ CPB นั่นเอง

นอกจากนั้น เมื่อ PB ไม่สำเร็จ หรือการพักตัวเพื่อไปต่อแล้วไม่สามารถกลับตัวไปตามเทรนด์ได้ นั่นหมายถึงโอกาสที่จะเกิด CPB และแน่นอน เราจะเข้าเทรดก็ต่อเมื่ออัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทนมีความคุ้มค่า (R:R) และจะเข้าซื้อ-ขาย ในราคาที่เหมาะสม

แผนภูมิที่ 4.18 แสดงไดอะแกรมของการเกิด CPB ในระหว่างแนวโน้ม

แผนภูมิที่ 4.18 - CPB การพักตัวที่มีความซับซ้อน

การสวิงกลับหลายครั้งทำให้เกิดโอกาสดีๆ หลายครั้ง อันที่จริง CPB ก็เกิดขึ้นบ่อยกว่า PB ด้วย

เมื่อดูแนวโน้มขาขึ้นทางด้านซ้าย ในแผนภูมิที่ 4.18 ราคาสวิงครั้งที่ 3 ลงมาต่ำกว่าครั้งที่ 1 และ 2 ซึ่งดึงดูดให้เข้า short มาก แล้วราคาก็หยุดและย้อนกลับขึ้นไป (กลับไปเทรนด์เดิม)ทำให้คนที่ short ติดกับ การปิดออเดอร์ ทำให้เสริมแรงให้กับการเทรดของเราได้กำไร

แล้วเราจะตัดสินใจได้ยังไงว่าจะรอ CPB แทนที่จะเข้าเพราะเป็น PB แล้ว? คงต้องบอกว่าต้องสังเกต อารมณ์ ของตลาดในขณะนั้น คุณจะรู้สึกได้ด้วยประสบการณ์

ดังที่ได้กล่าวไป การอ่อนแรงของแนวโน้ม จะทำให้คุณนึกถึงการเกิด CPB เรามักจะเห็นเมื่อมีการสวิงแรงๆ ของราคาสวนเทรนด์ลงไปมาก ซึ่งทำให้ราคาต้องสวิงหลายครั้ง กว่าจะกลับมาสู่เทรนด์เดิมได้

แผนภูมิที่ 4.19 - CPB การพักตัวที่มีการสวิง 3 ครั้ง

แผนภูมิที่ 4.19 แสดงตัวอย่างของให้เห็นถึงพฤติกรรมราคาดังกล่าว

สังเกตว่า การสวิงกลับ 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 3 ลงไปลึกกว่าจุด A กรณีนี้ดึงดูดให้คนเข้า short เพราะหวังว่าจะเข้าที่จุดกลับตัวสวยๆ แต่ต้องผิดหวังเมื่อกลายเป็นกับดักเมื่อราคาย้อนกลับมาสูงกว่าจุด A และทำให้พวกเขาต้องปิดออเดอร์

การสวิง 3 ครั้งนี้ทำให้เกิดแรงเสริมพอที่จะกลับไปเป็นเทรนด์ทิศทางเดิมอีกครั้ง

แผนภูมิที่ 4.20 - CPB การพักตัวที่ยาวนาน

ในแผนภูมิที่ 4.20 ด้านบน เราเห็นแนวโน้มขาขึ้นที่มีการพักตัวอย่างช้าๆ จนลงมาถึงแนวรับที่เป็นสวิงโลว์เดิม

ไม่เหมือนกับการสวิง 3 ครั้ง ที่อ่านง่ายกว่า การพักตัวที่ยาวนานเราไม่รู้ว่าจะเทรดได้เมื่อไหร่ กรณีแบบนี้ มักจะหลอกให้เราต้องถือออเดอร์นานมากก่อนที่จะจบการพักตัว เราควรไปดูไทม์เฟรมที่เล็กกว่า (กรณีนี้คือ 1 นาที) เพื่อเข้าที่สวิงไฮ/สวิงโลว์

#เทรด #forex #สอนforex #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี

Part 4 : การจัดฉากที่เหมาะกับสภาวะตลาดแต่ละแบบ

บทนี้เราจะพูดถึงการจัดฉาก ที่มักจะเทรดกันในสภาวะตลาดแต่ละแบบ

คำว่า สภาวะตลาด ผมไม่ได้หมายถึง สภาวะตลาดที่ผ่านมาแล้ว แต่เรากำลังพูดถึงสภาวะตลาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ภายใต้กรอบของแนวรับ/แนวต้าน :

หลักการที่ 1 – เราคาดหวังว่าแนวโน้มขาขึ้น หรือขาลงที่เกิดขึ้นนั้นจะไปต่อจนถึงบริเวณที่เป็นแนวรับ/แนวต้าน หรือจนกว่าจะแสดงอาการอ่อนแรง

  • โอกาสที่จะเกิด PB (การพักตัว)หรือ CPB (การพักตัวที่ซับซ้อน)ในระหว่างเทรนด์ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในบทก่อน

แผนภูมิที่ 4.21 - โอกาสที่จะเกิดการพักตัว (PB) ในระหว่างเทรนด์

แผนภูมิที่ 4.22 - การพักตัวที่ยาวนานของการพักตัวที่ซับซ้อน (CPB)

หลักการที่ 2 – เมื่อแนวโน้มขาขึ้น หรือลงนั้นแสดงอาการอ่อนแรง เราคาดว่าจะเป็นการพักตัวที่ยาวนาน มากกว่าจะเป็นการกลับตัว จนกว่าตลาดจะเฉลยว่าแรงซื้อ-ขายของฝั่งไหนมีกำลังมากกว่าจึงจะตัดสินใจได้ว่าเกิดเทรนด์ใหม่หรือไม่

  • โอกาสหลัก ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในเรื่องการพักตัวที่ซับซ้อน (CPB) ว่าการพักตัวปกติ (PB) จะสังเกตได้ง่ายในแนวโน้มชัดเจน เมื่อเกิดสวิงโลว์ที่ต่ำกว่าโลว์เดิมในเทรนด์ขาขึ้น หรือสวิงไฮที่สูงกว่าแนวต้านในเทรนด์ขาลง แล้วไม่ผ่านก่อนที่ราคาจะไปทางเดิม ถ้าไม่ใช่ ให้คิดว่าเป็นการพักตัวที่ซับซ้อน (CPB) ไว้ก่อน โดยการเทรดเฉพาะการพักตัว (PB) ที่ลึกกว่า หรือยาวนาน (CPB) เราจะมีโอกาสจากแรงส่งของแมงเม่าที่ไปติดกับดัก (เข้าเพราะคิดว่ากลับตัว)

แผนภูมิที่ 4.23 - โอกาสของการพักตัวที่ซับซ้อน (CPB) ในสภาวะตลาดที่แนวโน้มเคลื่อนไหวช้า

  • โอกาสที่ไม่ค่อยจะมี คือการสวนเทรนด์ อาจจะมีบ้างที่ทดสอบไม่ผ่าน (TST) หรือการเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ (BOF) ในกรณีสวิงไฮไปชนแนวต้านของแนวโน้มขาขึ้น หรือสวิงโลว์มาที่แนวรับในแนวโน้มขาลง โดยทั่วไปแล้ว เราจะเล่นแบบนั้นในตลาดที่มีการสวิงอย่างช้าๆ เป็นวงกว้าง หรือเทรนด์ที่มองออกชัดเจนว่าค่อยๆ ลงอย่างช้าๆ ทั้งสองกรณีนี้มีโอกาสเพียงเล็กน้อย ถ้าชอบความเสี่ยงก็อาจจะเลือกเทรดช่วงนี้ก็ได้ จากตัวอย่างด้านล่างนี้ จะเห็นว่าเป็นการเข้าก่อนจุดกลับตัว

แผนภูมิที่ 4.24 – การเล่นสวนเทรนด์เมื่อเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ (BOF) 

ในสภาวะตลาดที่แนวโน้มเคลื่อนไหวช้า

แผนภูมิที่ 4.25 – การเล่นสวนเทรนด์เมื่อทดสอบแนวต้านไม่ผ่าน (TST) 

ในสภาวะตลาดที่แนวโน้มเคลื่อนไหวช้า

หลักการที่ 3 – เมื่อเป็นไซด์เวย์เราคาดว่าสภาวะไซด์เวย์จะยังมีต่อไป จนกว่าตลาดจะแสดงให้เห็นว่ามีกำลังออกจากกรอบราคาดังกล่าว

  • มีโอกาสสูงในการเทรดตามกรอบราคา จากการเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ (BOF) จะได้แรงส่งของคนที่ติดกับดัก แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่มีกรอบราคาตามแนวรับ/แนวต้านที่ชัดเจน เราก็ต้องคอยดูการทดสอบไม่ผ่าน (TST) แทน

แผนภูมิที่ 4.26 – การทดสอบไม่ผ่าน (TST)  ในสภาวะตลาดไซด์เวย์

  • พฤติกรรมราคาภายในกรอบแสดงให้เห็นความขัดแย้งของเทรนด์ในทิศทางหนึ่ง คุณอาจจะตัดสินใจใช้ PB/CPB เข้าตามเทรนด์นั้นก็ได้ ข้อควรระวัง: ตัวอย่างนี้มีโอกาสน้อย

แผนภูมิที่ 4.27 – การตามเทรนด์ ในสภาวะตลาดไซด์เวย์

หลักการที่ 4 – เมื่อมีแรงซื้อขายที่เราคาว่าราคามีโอกาสทะลุกรอบไซด์เวย์ เราจะดูพฤติกรรมราคาหลังจากเบรคเอ้าท์ เพื่อหาสัญญาณบอกเทรนด์ในอนาคต

  • การอ่อนแรงหลังการเบรคเอ้าท์ – เราคาดหวังว่าการเบรคเอ้าท์นี้จะไม่สำเร็จ และราคากลับตัวเข้าไปในกรอบไซด์เวย์อีกครั้ง
  • การอ่อนแรงของการพักตัว – เราคาดหวังว่าการเบรคเอ้าท์จะจบการพักตัว และไปต่อ
  • เมื่อสังเกตตามหลักการ แล้วเห็นทิศทางชัดเจน – ดูพฤติกรรมราคาหลังเบรคเอ้าท์ สังเกตอาการอ่อนแรง ไม่ว่าจะเป็น การเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ (BOF) หรือ การพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ (BPB) ตามที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ การอ่อนแรงบ่งบอกว่าอาจจะเกิดการพักตัวได้ทั้งแบบง่าย และแบบซับซ้อน การเทรดเมื่อเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ (BOF) ต้องระมัดระวัง ควรรอให้เห็นชัดเจนว่าราคาเริ่มมีกำลังในทิศทางที่เราต้องการ หลังจากที่ราคาอ่อนแรงลงหลังการพักตัว โดยดูเหมือนจะเป็น BOF ที่ไม่สำเร็จ (เบรคเอ้าท์สำเร็จ) ให้ดูสัญญาณของการพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ (BPB) ถ้าต้องปิด BOF ก็ต้องกลับลำมาเข้า BPB ทันที

แผนภูมิที่ 4.28 – สภาวะตลาดไซด์เวย์ทำให้มีโอกาสเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ

แผนภูมิที่ 4.29 – สภาวะตลาดไซด์เวย์ทำให้มีโอกาสพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์

ตามกรอบของแนวรับ/แนวต้าน :

หลักการที่ 5 – เราคาดว่าแนวรับ/แนวต้าน จะพักการเคลื่อนที่ของราคาได้ จนกระทั่งราคาสะสมแรงแล้วทะลุผ่านไปได้

  • จากหลักการนี้ทำให้เราคาดได้ว่า เมื่อราคามาถึงแนวรับ/แนวต้าน ของไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า ราคาจะทดสอบแนวรับ/แนวต้านไม่ผ่าน (TST)

แผนภูมิที่ 4.30 – การทดสอบแนวต้านจากไทม์เฟรมที่สูงกว่า (30 นาที) ไม่ผ่าน

หลักการที่ 6 – ถ้าราคาแสดงถึงกำลังเมื่อเข้าสู่แนวรับ/แนวต้าน เราคาดว่าจะมีการเบรคเอ้าท์ และสังเกตพฤติกรรมราคาหลังการเบรคเอ้าท์ เพื่อดูว่าราคาจะไปในทิศทางใด

  • การอ่อนกำลังเมื่อเบรคเอ้าท์ – คาดว่าการเบรคเอ้าท์จะไม่สำเร็จ และราคากลับตัวย้อนไปสู่แนวรับ/แนวต้าน
  • การอ่อนกำลังของการพักตัว – คาดว่าการพักตัวจะจบ และราคาไปต่อ
  • เมื่อสังเกตตามหลักการ แล้วเห็นทิศทางชัดเจน – ดูพฤติกรรมราคาหลังเบรคเอ้าท์ สังเกตอาการอ่อนแรง ไม่ว่าจะเป็น การเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ (BOF) หรือ การพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ (BPB) ตามที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ การอ่อนแรงบ่งบอกว่าอาจจะเกิดการพักตัวได้ทั้งแบบง่าย และแบบซับซ้อน การเทรดเมื่อเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ (BOF) ต้องระมัดระวัง ควรรอให้เห็นชัดเจนว่าราคาเริ่มมีกำลังในทิศทางที่เราต้องการ หลังจากที่ราคาอ่อนแรงลงหลังการพักตัว โดยดูเหมือนจะเป็น BOF ที่ไม่สำเร็จ (เบรคเอ้าท์สำเร็จ) ให้ดูสัญญาณของการพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ (BPB) ถ้าต้องปิด BOF ก็ต้องกลับลำมาเข้า BPB ทันที

แผนภูมิที่ 4.31 – การเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ (BOF) ที่แนวรับจากไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า

แผนภูมิที่ 4.32 – การพักตัวหลังเบรคเอ้าท์ (BPB) ที่แนวต้านจากไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า

สรุป

สภาวะตลาดมีแนวโน้มชัดเจน :

  • โอกาสสูง
  • การพักตัว PB หรือ การพักตัวที่ซับซ้อน CPB

สภาวะตลาดมีแนวโน้มอ่อนแรง :

  • โอกาสสูง
  • การพักตัวที่ซับซ้อน CPB
  • การพักตัว PBถ้ามีการเบรคราคาสวิงโลว์ (ขาขึ้น) หรือสวิงไฮ (ขาลง)
  • โอกาสน้อย
  • การพักตัว PB(ถ้าไม่มีการเบรคราคาสวิงโลว์หรือสวิงไฮ)
  • เทรดสวนเทรนด์ เมื่อทดสอบไม่ผ่าน TST หรือเบรคเอ้าท์ไม่ผ่าน BOF มีการเบรคราคาสวิงไฮ (ขาขึ้น) หรือสวิงโลว์ (ขาลง)

สภาวะตลาดไซด์เวย์ที่มีกรอบราคาชัดเจน :

  • โอกาสน้อย
  • การพักตัว PB หรือ การพักตัวที่ซับซ้อน CPB

ราคาไปถึงแนวรับ/แนวต้าน ของไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า โดยไม่มีสัญญาณว่าจะสามารถเบรคเอ้าท์ได้ :

  • โอกาสสูง
  • การทดสอบไม่ผ่าน TST

ราคาไปถึงแนวรับ/แนวต้าน ของไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า โดยมีสัญญาณว่าจะสามารถเบรคเอ้าท์ได้ :

  • โอกาสสูง
  • การเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ BOF หรือการพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ BPB

บันทึกเกี่ยวกับการเล่นสวนเทรนด์ในสภาวะที่ตลาดมีแนวโน้มที่ชัดเจน

การเทรดสวนเทรนด์ มักจะมีโอกาสน้อยเสมอ เมื่อราคาเคลื่อนที่อย่างมีกำลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อติดลมบน! ธรรมชาติของคนมักจะลังเล และพลาดโอกาสเข้าตามเทรนด์ (ตกรถ) เป้าหมายของเราคือหาทางแก้แค้นโดยพยายามจะหาจุดกลับตัว ตลาดก็มักจะวางกับดักหลอกให้ดูเหมือนว่าจะกลับตัวอยู่เสมอ

ให้เชื่อว่าเทรนด์จะไปต่อ จนกว่าตลาดจะแสดงให้เห็นถึงอาการอ่อนแรง

เมื่อราคาไปถึงแนวรับ/แนวต้าน ให้คาดไว้ก่อนว่ามันจะหยุด และมองหาโอกาสที่ราคาจะพักตัวครั้งแรกหลังจากการเบรคเอ้าท์

การพักตัวนั้นจะต้องไม่ลึกเกินไป และควรจะกลับตัวก่อนจะมาถึงสวิงไฮ/สวิงโลว์เดิม

ถ้าคุณเห็นว่ามันเป็นกับดักที่หลอกให้ดูเหมือนจุดกลับตัว ให้มองข้ามมันไป โดยใช้ความรู้ที่ว่า คนอื่นคงคิดแบบนี้แล้วเข้าไปติดกับดัก เมื่อเห็นแล้วว่ามีคนเข้าไปติดกับ ให้ใช้โอกาสนี้ เข้าตามเทรนด์  กำไรได้มาจากการสต๊อปเอ้าท์ของคนที่ติดกับดัก และส่งแรงให้ตลาดมีแนวโน้มที่แข็งแรง

หลีกเลี่ยงการเทรดสวนเทรนด์ จนกว่าตลาดจะแสดงให้เห็นถึงอาการอ่อนแรง ไม่ใช่แค่การพักตัว หรือการอ่อนแรงชั่วคราว – ให้มองหาการพักตัวที่ลึก (คำว่าลึก สามารถเทียบได้กับการพักตัวปกติ และดูจากกำลัง) เข้าตามเทรนด์ เมื่อการทดสอบราคาสูงสุด/ต่ำสุดนั้นอ่อนแรง นอกจากนั้น ควรรอการเบรคเอ้าท์ไม่ผ่าน (BOF) มากกว่าจะตามทันทีเมื่อทดสอบไม่ผ่าน (TST) ซึ่งจะทำให้ติดกับดัก การเทรดสวนเทรนด์ ควรเทรดด้วยความระมัดระวัง

แผนภูมิที่ 4.33 – การเล่นสวนเทรนด์ ผิดพลาดเมื่อเจอเทรนด์แรง

#เทรด #forex #สอนforex #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี

Part 5 : จะเกิดอะไรขึ้นหลังจากราคามาหยุดที่แนวรับ/แนวต้าน ?

จากบทที่แล้วเราพูดถึงการวิเคราะห์ คุณคงพอจะจำได้ว่าเราพูดถึงว่า นานแค่ไหนที่จะรู้ว่าทดสอบ หรือเบรคเอ้าท์ผ่านหรือไม่ โดยวัดจากระยะเวลาหลังจากที่ราคามาถึงแนวรับ/แนวต้านแล้ว เราสังเกตความแข็งแรง/ความอ่อนแอของราคา เพื่อจะคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต - ราคาจะกลับตัวหรือไม่ หรือจะไปต่อในทิศทางเดิม

ไดอะแกรมนี้แสดงให้เห็นถึงโอกาสที่จะมีการจัดฉาก ต่อจากการทดสอบไม่ผ่าน (TST) หรือการเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ (BOF)

  • ในกรณีที่ราคาไม่แสดงความอ่อนแอ หลังจากมาทดสอบแนวรับ/แนวต้าน ให้คาดไว้ก่อนว่าราคาจะไปต่อ (หลักการที่ 1) ซึ่งจะนำเราไปสู่การทดสอบแนวรับ/แนวต้านอีกครั้ง (ตามหลักการที่ 5หรือ 6) ดังนั้นเราจะคอยสังเกตดูทั้ง การพักตัว (PB) และ การทดสอบไม่ผ่าน (TST) หรือ การเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ (BOF)/ การพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ (BPB)

แผนภูมิที่ 4.34 - เกิดอะไรขึ้นหลังจากราคามาหยุดที่แนวรับ/แนวต้าน - กรณีที่ราคาอ่อนแรง

  • ถ้าแสดงให้เห็นว่าราคาอ่อนแรง เมื่อราคาไปทดสอบแนวรับ/แนวต้าน แต่ไม่มีสัญญาณบ่งบอกถึงแรงในการกลับตัว ให้คาดว่าจะเป็นการพักตัวแบบซับซ้อน (หลักการที่ 2) ซึ่งจะนำเรากลับไปยังการทดสอบแนวรับ/แนวต้านอีกครั้ง (ตามหลักการที่ 5หรือ 6) ดังนั้นเราจะคอยสังเกตดูทั้งการพักตัวที่ซับซ้อน (CPB) และการทดสอบไม่ผ่าน (TST) หรือการเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ (BOF)/ การพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ (BPB)

แผนภูมิที่ 4.35 - เกิดอะไรขึ้นหลังจากราคามาหยุดที่แนวรับ/แนวต้าน

  - กรณีที่ราคาอ่อนแรงในระหว่างเทรนด์

  • ถ้าราคาแสดงความแข็งแรงไปในทางตรงกันข้าม ให้คาดว่าจะเป็นการกลับตัว ในกรณีแบบนี้ การทดสอบแนวรับ/แนวต้าน สามารถตีเป็นการพักตัวของเทรนด์ใหม่ก็ได้ (หลักการที่ 1) ให้สังเกตการพักตัว (PB) ของทิศทางใหม่

แผนภูมิที่ 4.36 - เกิดอะไรขึ้นหลังจากราคามาหยุดที่แนวรับ/แนวต้าน

                              - กรณีที่ราคาแสดงความแข็งแรงไปในทิศทางตรงกันข้าม

ขั้นตอนที่ 6 - ระบุบริเวณที่มีโอกาสเข้าเทรด

จากการคาดการณ์ถึงแนวโน้มในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นทิศทาง หรืออาการเมื่อมาถึงบริเวณ แนวรับ/แนวต้าน และสวิงไฮ/สวิงโลว์ และระบุว่ามีการจัดฉากหรือไม่ บริเวณที่มีโอกาสเข้าเทรดก็คือบริเวณที่มีการแสดงให้เห็นถึงการอ่อนแรงเมื่อมาถึงแนวรับ/แนวต้าน และสวิงไฮ/สวิงโลว์อีกครั้ง (TST, BOF, BPB) หรือการอ่อนแรงในระหว่างเทรนด์ (PB, CPB)

วิธีเทรด :

  • หากับดักในอนาคตให้ได้
  • ในสภาวะตลาดมีแนวโน้มชัดเจน:
  • โอกาสสูง
  • การพักตัว (PB) และการพักตัวที่ซับซ้อน (CPB)
  • ในสภาวะที่แนวโน้มกำลังอ่อนแรง
  • โอกาสสูง
  • การพักตัวที่ซับซ้อน (CPB)
  • การพักตัว (PB) ถ้าราคาทะลุสวิงโลว์ (ในแนวโน้มขาขึ้น) หรือสวิงไฮ (ในแนวโน้มขาลง)
  • โอกาสต่ำ
  • การพักตัว (PB) ที่ไม่ได้เบรคเอ้าท์สวิงไฮหรือสวิงโลว์
  • การทดสอบไม่ผ่าน (TST) ที่สวนเทรนด์ หรือการเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จที่สวิงไฮ (ในแนวโน้มขาขึ้น) หรือสวิงโลว์ (ในแนวโน้มขาลง)
  • ในสภาวะตลาดไซด์เวย์ และมีกรอบราคาชัดเจน
  • โอกาสต่ำ
  • การพักตัว (PB) และการพักตัวที่ซับซ้อน (CPB)
  • ราคาเข้าสู่แนวรับ/แนวต้าน ของไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า โดยไม่มีสัญญาณของโอกาสเกิดการเบรคเอ้าท์
  • โอกาสสูง
  • การทดสอบไม่ผ่าน (TST)
  • ราคาเข้าสู่แนวรับ/แนวต้าน ของไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า โดยมีสัญญาณของโอกาสเกิดการเบรคเอ้าท์
  • โอกาสสูง
  • การเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ (BOF) หรือ การพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ (BPB)
  • ตัดสินใจเข้าเทรด เมื่อราคาเข้าสู่กับดัก

4.3.4 - วิธีเทรดเพิ่มเติม - การเทรดระหว่างบริเวณที่เป็นกับดัก

โอกาสในการเทรดจะขึ้นอยู่กับคู่เงินที่คุณเลือก และไทม์เฟรมที่เทรด ตัวอย่างในหนังสือเล่มนี้ จะเกิดกับดัก 1-2 ครั้ง ในแต่ละชั่วโมง บางครั้งก็อาจจะมากกว่า หรือน้อยกว่าก็ได้

ถ้าคุณใช้ไทม์เฟรมใหญ่ แล้วรู้สึกเบื่อ อยากจะหาอะไรทำมากกว่า อย่าไปเทรดเพิ่มระหว่างบริเวณที่เป็นกับดัก แต่ให้ใช้วิธีลดไทม์เฟรมลง โดยให้ใช้กลยุทธ์ในการเทรดเหมือนเดิม

ถ้าคุณใช้ไทม์เฟรมที่ต่ำกว่าตัวอย่างในหนังสือเล่มนี้ ก็ขอแนะนำให้อ่านหนังสือการเทรดสั้น (Scalper) แทน

4.3.5 - เมื่อราคามาถึงกับดัก

เมื่อราคามาถึงบริเวณกับดัก ไม่ได้หมายถึงว่าเราจะต้องเทรด แต่เป็นการเตรียมตัวเองให้ตื่นตัว และพร้อมเมื่อโอกาสมาถึง ให้หยุดอย่างอื่นที่จะทำให้คุณเสียสมาธิ ให้แน่ใจว่าคุณทำตามพฤติกรรมราคา และรู้อารมณ์ของตลาด และยังต้องเตรียมบริเวณที่ควรจะเป็นจุดหยุดเป็นเป้าหมาย และเป็นจุดเข้าไว้ก่อนแล้ว ดังที่ได้กล่าวในบทก่อนหน้านี้

#เทรด #forex #สอนforex #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี

Part 6 : การเทรดบริเวณกับดัก

4.4.1 - การวางสต๊อปลอส

การวางสต๊อปลอสแบบหยาบ

เมื่อราคาเข้าสู่บริเวณที่ถูกจัดฉากไว้ ผมจะมองหาจุดที่จะวางสต๊อปลอส นี่เป็นสิ่งที่ควรทำก่อนที่จะหาจังหวะเข้า

การวางสต๊อปลอสแบบหยาบ ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม มันเป็นจุดที่วางในราคาขาดทุนแน่นอน ให้คุณระบุจุดที่ยอมตัดขาดทุนเมื่อตลาดไม่ได้ไปตามทิศทางที่คุณคาดการณ์ไว้

เมื่อคุณตัดสินใจเทรดแล้วจำเป็นต้องตัดขาดทุน นั่นแสดงว่า

1) การคาดการณ์ของคุณผิดพลาด (หรืออาจจะถูก แต่มันทำให้อารมณ์ของตลาดเปลี่ยน จนส่งผลให้ทิศทางเปลี่ยน) หรือ

2) จังหวะเข้าของคุณผิดพลาด

ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม คุณต้องการออกจากตลาด การตัดขาดทุนถือเป็นการบริหารความเสี่ยง เป็นการตัดสินใจยอมขาดทุนจำนวนน้อย เพื่อให้คุณยังสามารถอยู่ในตลาดต่อได้ เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ

แผนภูมิที่ 4.38 - การวางสต๊อปลอส - TST, BOF และ BPB

แผนภูมิที่ 4.38 และ 4.39 แสดงการวางสต๊อปลอสในการจัดฉากแต่ละแบบ

แผนภูมิที่ 4.39- การวางสต๊อปลอส - PB และ CPB

จุดสต๊อปลอส สามารถเห็นได้ชัดเจนจากไทม์เฟรมที่เทรด แต่ผมแนะนำให้ไปดูในไทม์เฟรมที่เล็กกว่า มันจะช่วยให้เราเห็นการก่อตัวของราคาที่ประกอบเป็นแท่งเทียนที่เราเทรด และช่วยระบุความแข็งแรง หรือความอ่อนแรงของราคาได้ในช่วงเวลาที่เล็กกว่า

การวางสต๊อปลอส สำหรับการทดสอบไม่ผ่าน (TST) หาได้ง่าย ถ้าคุณคาดว่าราคาจะไปทดสอบแนวรับ/แนวต้าน และดูเหมือนแรงไม่พอที่จะทะลุไปได้ ก็สามารถวางสต๊อปลอสเหนือแนวรับ/แนวต้านนั้น

แผนภูมิที่ 4.40 ด้านล่าง แสดงให้เห็นถึงการทดสอบไม่ผ่าน (TST) ที่แนวต้าน

ถ้าเป็นไปตามคาด ราคาจะไม่สามารถสูงเกินแนวต้านได้ ดังนั้น (ถ้าเข้าเทรด) เราก็จะวางสต๊อปลอสเหนือบริเวณแนวต้าน

ถ้าลังเลว่า จะวางสต๊อปลอสตรงไหนดี ให้เรานึกถึงตอนที่เรามองหาเป้าหมายในการเทรด ถ้าราคาควรจะร่วงลงมาแล้วเราจะเข้าเทรด แต่กลับสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เราก็จะเปลี่ยนความคาดหวังแทน (เปลี่ยนจาก การทดสอบไม่ผ่าน TST ไปเป็นการคาดว่าจะเกิด การเบรคเอ้าท์ไม่ผ่าน BOF หรือการพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ BPB แทน)

ถ้าราคาเหมาะที่จะ short แล้วเราก็วางสต๊อปลอสในจุดที่เหมาะสม เมื่อราคาไปถึงจุดคัตลอส ก็หมายความว่าเราตัดสินใจผิดพลาด ก็ถือว่าดีแล้วที่ออกจากตลาด เป็นการจำกัดความเสียหาย และเราสามารถมองหาโอกาสเทรดครั้งต่อไป

แผนภูมิที่ 4.40 - การวางสต๊อปลอส - การทดสอบแนวต้านไม่ผ่าน TST

ในกรณีนี้ ก็ยังมีทางเลือกอื่น คือเปิดออเดอร์ทันทีหลังจากแท่งเทียนแท่งสุดท้ายจบแท่ง โดยจะวางสต๊อปลอสต่ำกว่าที่แสดง คือวางตรงจุดสูงสุดของไส้เทียน ซึ่งจะเสียน้อยกว่า เมื่อเทียบกับตำแหน่งที่แสดงในภาพ (สูงกว่าแนวต้าน)

จากตัวอย่างนี้จะแสดงให้เห็นว่า การเข้าออเดอร์ทุกครั้ง จะวางสต๊อปลอสด้วยเสมอ ถึงจะไม่ได้ใส่ทันที แต่ก็จะวางแผนไว้คร่าวๆ ว่าจะวางบริเวณใดเมื่อจะเข้าออเดอร์

ในการจัดฉากแบบอื่นๆ (BOF, BPB, PB, CPB) ไม่ง่ายแบบนี้ เพราะไม่มีแนวรับ/แนวต้านมาอ้างอิง การวางสต๊อปลอสจะอ้างอิงพฤติกรรมราคา แต่แนวคิดก็ยังเหมือนเดิม - เราจะวางสต๊อปลอสในตำแหน่งที่ราคาไม่ควรจะไปทางนั้น เป็นการป้องกันหากเราคาดการณ์ผิด

ถ้าคุณกำลังรอการจัดฉากในตลาดกระทิง ให้มองช่วงที่เป็นสภาวะหมี ให้เห็นว่ามีจังหวะแล้ว จากนั้นก็คิดว่าจุดไหนควรจะเป็นจุดที่สภาวะหมีจะไม่สามารถผ่านไปได้ นั่นคือจุดที่จะวางสต๊อปลอส

ถ้าคุณกำลังรอการจัดฉากในตลาดหมี ให้มองช่วงที่เป็นสภาวะกระทิง ให้เห็นว่ามีจังหวะแล้ว จากนั้นก็คิดว่าจุดไหนควรจะเป็นจุดที่สภาวะกระทิงจะไม่สามารถผ่านไปได้ นั่นคือจุดที่จะวางสต๊อปลอส

อาจจะมีความลังเลใจในการหาตำแหน่งสต๊อปลอส ให้ปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมราคาที่ตลาดค่อยๆ เฉลยออกมา บางทีโอกาสใหม่ในการเข้าเทรดอาจจะอยู่บริเวณที่วางสต๊อปลอสก็ได้

บางครั้งคุณอาจจะไม่มีอะไรมาบอกว่าจะวางสต๊อปลอสตรงไหน จนกว่าโอกาสใหม่มาให้เห็นหลังจบแท่งเทียน

แผนภูมิที่ 4.41 ด้านล่างยกมาจากตัวอย่างการพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ BPB ในบทก่อน แสดงกราฟ 3 นาที ที่มีการจัดฉากตามภาพทางซ้าย และพฤติกรรมราคาในกราฟ 1 นาที ตามภาพทางขวา

แผนภูมิที่ 4.41 - การวางสต๊อปลอส - เมื่อมีการพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ BPB

เราคาดว่า ราคาจะพักตัวกลับไปถึงบริเวณแนวต้าน

ผมเปลี่ยนเข้าไปดูกราฟ 1 นาที เพื่อดูในรายละเอียด ที่จุด A ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น ผมวางสต๊อปลอสแบบหยาบ เหนือขึ้นไปจากจุดที่มีการเบรคเอ้าท์ ตามภาพทางขวา ถ้าราคาย้อนกลับไปถึงจุดนั้น แสดงว่าคาดการณ์ผิด จึงไม่สำคัญว่าจะวางสต๊อปลอสตรงไหน

ผมเข้าไปดูกราฟ 1 นาที และปรับตำแหน่งสต๊อปลอสไปในตำแหน่งที่ใกล้ที่สุด ที่ราคาไม่ควรจะไปถึงจุดนั้น ที่ตำแหน่ง B เราเห็นสัญญาณของสภาวะหมี ผมจึงเลื่อนสต๊อปลอสไปเหนือสวิงไฮ (แสดงในตำแหน่งสต๊อปลอส) จุดนี้จะสามารถมองเห็นได้เมื่อตลาดเฉลยให้เห็นโอกาสเข้าที่จุด B ซึ่งมีแท่งถัดมายืนยัน (เราจะเข้าบริเวณนี้)

แผนภูมิที่ 4.42 ทางด้านซ้ายแสดงกราฟที่เกิด BOF ในตัวอย่างก่อนหน้านี้ และทางด้านขวาจะแสดงรายละเอียดลงไปในกราฟ 1 นาที

แผนภูมิที่ 4.42 - การวางสต๊อปลอสในกรณีเกิดการเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ BOF

ลองดูที่การเบรคเอ้าท์ครั้งแรก...

สต๊อปลอสจะถูกวางต่ำกว่าไส้ของแท่งเทียน A หากมีสัญญาณเข้าออเดอร์

ถ้ายังไม่มีสัญญาณ แท่ง B ทำราคาต่ำกว่าเดิม เช่นเดิม ถ้ามีสัญญาณเข้าออเดอร์จากการเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ BOF เราจะวางสต๊อปลอสใต้แท่ง B

ก็ยังคงไม่มีสัญญาณ ที่แท่ง C ราคาลงมาต่ำกว่าอีกครั้ง คราวนี้ เราวางแผนว่าจะวางสต๊อปลอสที่จุด SP1 ถ้ามีการเข้าออเดอร์

เราเข้าเทรด และวางสต๊อปลอสที่ SP1

ไม่นาน เราก็เห็นโอกาสเกิด BOF อีกครั้ง...

แท่งเทียน D แสดงให้เห็นโอกาสครั้งที่สอง ในกรณีนี้ หากคุณวางสต๊อปลอสด้วยเงื่อนไขเดิม คือวางที่ SP2 ออเดอร์นี้น่าจะเกี่ยวสต๊อปลอส แต่การวางสต๊อปลอสที่ SP3 ซื่งอยู่ระดับเดียวกับ SP1 จะไม่โดนเกี่ยวสต๊อปลอส

SP3 เป็นจุดที่เราแนะนำ เพราะต่ำกว่าบริเวณสวิงโลว์ทั้งหมด แต่ต้องเหมาะกับอัตตราผลตอบแทนความเสี่ยง R:R ถ้าไม่ SP2 ก็เป็นตัวเลือกที่ยอมรับได้

การเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จครั้งที่ 3 จะแสดงที่แท่งเทียน E ซึ่งแสดงให้เห็นว่า จุด SP3 ต่ำกว่าพฤติกรรมราคาที่เกิดขึ้นบริเวณนี้

แผนภูมิที่ 4.43 ด้านล่างแสดงจุดที่วางสต๊อปลอสของตัวอย่างกราฟ 3 นาทีของการพักตัว PB ด้านขวาแสดงรายละเอียดในกราฟ 1 นาที

แผนภูมิที่ 4.43 - การวางสต๊อปลอสในกรณีเกิดการพักตัว PB

การพักตัวทำให้ราคาเคลื่อนช้าลง ในตอนนี้เรายังไม่แน่ใจว่าราคาจะไปถึงไหน จึงตั้งใจว่าจะวางสต๊อปลอสไว้ที่ตำแหน่ง SP1 ซึ่งอยู่ต่ำกว่าราคาก่อนที่จะมีการเบรคเอ้าท์

เมื่อราคาจบแท่ง เราจึงมองออกว่าควรวางสต๊อปลอสที่ตำแหน่ง SP2 เมื่อเราสามารถกำหนดจุดออกได้ เราจึงเข้าออเดอร์

ขั้นตอนทั้งหมดมีแค่นั้น แค่วางสต๊อปลอสในจุดที่คาดว่าราคาไม่น่าจะไปถึง เมื่อคุณจะเข้าเทรด – โดยใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิค (อ่านพฤติกรรมราคา) ถึงบริเวณที่ราคาจะผ่านไปได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นแนวรับ/แนวต้านของไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า หรือสวิงไฮ/สวิงโลว์ของไทม์เฟรมที่เทรด

มีอีก 2 อย่างสุดท้ายที่ต้องย้ำ…

(1)   คำถามที่เจอบ่อยๆ คือ… จะต้องวางสต๊อปห่างออกไปแค่ไหน

คำตอบก็คือ แล้วแต่ทุนของคุณ ย้อนกลับไปที่แผนภูมิที่ 4.43 ถ้ามาร์จิ้นของคุณไม่พอระยะ SP2 ก็ให้คัตทิ้งที่โลว์ล่าสุดแทน

ถ้าคุณมีมาร์จิ้นไม่พอ แต่คาดว่าราคาจะลงมาทดสอบที่โลว์ล่าสุด หรืออาจจะเกินมาปิ๊ปหรือสองปิ๊ป ก็อาจจะขยับออกไปได้อีกหน่อย หรือไปวางที่ SP1 เลย

ในความเห็นส่วนตัว คำว่า โลว์ล่าสุด ก็ให้เผื่อไปอีกสักสองปิ๊ป (20 จุด) ไม่อย่างนั้นอาจเสียอารมณ์เมื่อราคามาทดสอบแล้วเกินโลว์ไปแค่ปิ๊ปเดียว ก่อนจะไปในทิศทางที่เราคาดเดาไว้เป๊ะ ซึ่งถ้าผิดพลาด เราก็เสียเพิ่มเพียงแค่ปิ๊ปเดียว

(2)   โปรดจำไว้เสมอว่า เราไม่วางสต๊อปลอส หรือเป้าหมายอย่างลวกๆ แล้วนั่งรอให้ราคาไปชนด้านใดด้านหนึ่ง ผมจะเตรียมพร้อมบริหารการเทรดเสมอ และตัดสินใจคัตทิ้งออเดอร์ที่ผิดทางก่อนที่จะชนสต๊อปลอส เพราะสต๊อปลอสเป็นการคัดทิ้งในกรณีที่แย่ที่สุดแล้วเท่านั้น!

สุดยอดอีเมล์คำถามจากผู้อ่าน:

ถาม:ผมมักได้ยินเทรดเดอร์ (ผมคิดว่าคุณก็เคยพูดเหมือนกัน) ว่าใครๆ ก็วางสต๊อปลอสในจุดที่ "ตลาดไม่ไปในทิศทางที่คุณคิด" หรือ "ตอนที่คุณรู้ว่าเข้าผิดทาง" หรือ "จุดที่ราคาไม่น่าจะไปถึง" ไม่มีใครเคยบอกว่าแนวรับ/แนวต้านอาจจะไม่ทำหน้าที่ของมันก็ได้ ผมก็เลยงงๆ บางทีมันอาจจะแค่เลยจุดที่เราอ้างอิงไปนิดนึง ก่อนที่จะไปตามทิศทางที่ถูกต้องก็ได้ ตลาดก็เป็นแบบนี้ คงมีแต่พวกผมที่ "เข้าผิดทางตลอด" อยากรู้ว่าคุณคิดยังไงกับเรื่องนี้

ตอบ:การที่ตลาดเคลื่อนไหวมันไม่มีถูกหรือผิด มันแค่เป็นไปตามกลไกตลาด ยังไงก็ตาม การเทรดของผมเกิดจากการตีความหมายของสิ่งที่เกิดขึ้นในตลาด ผมตีความว่ามันจะเกิดกับดักแบบไหน จะเข้าออเดอร์ตรงไหน และควรจะวางสต๊อปลอสตรงไหนที่ราคามันจะไปไม่ถึง แต่ถ้าราคามันไปถึง การตีความของผมก็ผิด ไม่ใช่ว่าตลาดผิด เป็นการอ่านตลาดของผมต่างหากที่ผิด มันไม่เหมือนกัน! แล้วถ้าผมอ่านตลาดผิด ผมก็ไม่ควรที่จะเทรดอยู่แล้ว

#เทรด #forex #สอนforex #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี

Part 7 : การวางเป้าหมาย

ถึงตอนนี้ ราคามาอยู่ในจุดที่มีการจัดฉาก และเราได้มองหาตำแหน่งสต๊อปลอสที่เหมาะสม นั่นก็คือตำแหน่งที่ราคาไม่น่าจะไปถึง

ขั้นตอนต่อไป คือการมองหาเป้าหมาย ก่อนที่จะมีการเข้าออเดอร์

ให้จำไว้เสมอว่า เราไม่ได้รอจนเข้าออเดอร์ แล้วมานั่งกำหนดว่าเป้าหมายของเราคือ 2 เท่าของสต๊อปลอส มีคนมากมายที่วางเป้าหมายง่ายๆ ที่ 2:1 หรือแม้กระทั่ง 3:1 ของผลตอบแทนต่อความเสี่ยง แล้วก็รอให้ราคาไปชนเป้าหมายหรือสต๊อปลอสอย่างใดอย่างหนึ่ง

วิธีนี้ไม่ได้เรื่องเลยในความคิดของผม!

วิธีของมือสมัครเล่นแบบนี้ ไม่ได้พิจารณาถึงการต้านการเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตเลย (เช่น บริเวณแนวรับ/แนวต้าน ที่จะขวางไม่ให้ราคาเคลื่อนผ่านไปได้) แต่การเข้าใจถึงธรรมชาติของตลาดและการเคลื่อนไหวของราคา เราจะรู้ว่าเป้าหมายของราคาจะอยู่บริเวณแนวรับ/แนวต้านนี่เอง

และเมื่อพิจารณาจากความจริงที่ว่าภาวะตลาดเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จุดที่พวกเขาเข้าออเดอร์อาจจะไม่สามารถอยู่ในตลาดได้นานนัก

การแบ่งออเดอร์

ผมแนะนำให้แบ่งเทรดเป็นสองส่วน ตามเหตุผลที่อธิบายในอีบุ๊ค "The Importance of Exit Strategy" (ถ้าคุณยังไม่ได้อ่าน อยากให้กลับไปอ่าน เพราะมีพื้นฐานเรื่องการวางสต๊อปลอส เป้าหมาย และการจัดการการเทรด)

ส่วนแรก จะวางเป้าหมายปกติ หรือ T1

ส่วนที่สอง จะเป็นเป้าหมายที่ยังไม่แน่ใจ หรือ T2 ซึ่งบางครั้งอาจจะมีการปล่อยให้เลย T2 ไปได้ ถ้าพฤติกรรมราคาแสดงให้เห็นว่าแนวโน้มกำลังไปต่อ เราจะมากล่าวถึงรายละเอียดอีกทีในการจัดการการเทรด ตอนนี้เอาเป็นว่าเราจะมี 2 เป้า คือ T1 และ T2

การหาเป้าหมายที่ราคาจะไปถึง

เป้าหมายสูงสุดของเราคือการเทรดการสวิงของราคาในไทม์เฟรมที่ใช้เทรด ดังนั้นเราก็จะใช้การสวิงมาบอกเป้าหมายของราคา เช่นเคย การเข้าไปดูรายละเอียดในไทม์เฟรมที่เล็กกว่า เป็นสิ่งที่จำเป็น

เป้าหมายแรก ที่ T1 จะเป็นบริเวณถัดไปที่คาดว่าการเคลื่อนที่ของราคาจะเปลี่ยนไป

เป้าหมายที่สอง ที่ T2 มักจะเป็นแนวรับ/แนวต้าน ถัดไปของไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า ถ้าราคาอยู่บริเวณราคาที่สูงที่สุด หรือต่ำที่สุด (หรืออย่างน้อยก็เป็นราคาที่สูงที่สุด หรือต่ำสุด ในช่วงเวลาที่นานมากแล้ว) และไม่มีแนวรับ/แนวต้านจริงๆ ในบริเวณถัดไป ผมจะมีเป้าหมายแรกเมื่อราคาค่อยๆ เข้าสู่ T1 หรือปล่อยให้ราคาวิ่งไปแล้วเลื่อนสต๊อปลอสตาม (trailing stop) จากตัวอย่างจะเลื่อนตามไม่นานนัก

ลองกลับมาดูกราฟที่แสดงการจัดฉากเพื่อจะหาจุดที่จะวางเป้าหมายได้เหมาะสม

อีกครั้ง ที่เราจะย้ำเตือนว่า เราไม่วางสต๊อปลอสและเป้าหมายง่ายๆ แล้วก็ลุกจากไป นี่เป็นแค่บริเวณที่เราคาดว่าราคาจะมาถึง โดยใช้พื้นฐานการคาดการณ์พฤติกรรมราคาในอนาคต เราจะเตรียมพร้อมที่จะบริหารการเทรดและทำกำไรก่อน (ยอมขายหมู) หากการคาดการณ์ของเราเปลี่ยนไป และไม่มั่นใจแล้วว่ามาถูกทาง

ในแผนภูมิที่ 4.44 ด้านล่าง เราแสดงให้เห็นการพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ (BPB) โดยเป้าแรก T1 อยู่ที่ 1.5940 เป็นโอกาสสั้นๆ ของแนวต้านสวิงไฮเดิม และเป้าที่สอง T2 วางไว้ที่ 1.5955 ต่ำกว่าแนวต้านถัดไป นี่เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน (จากเคยมีกำไรแล้วราคาย้อนมา) ที่แสดงให้เห็นประโยชน์ของการแบ่งส่วนเทรด แทนที่จะวางเป้าเดียวที่ T2

แผนภูมิที่ 4.44 - การวางเป้าหมายของ BPB

แผนภูมิที่ 4.45 ด้านล่างแสดงการพักตัวแบบซับซ้อน (CPB) ในแนวโน้มขาขึ้น

มีการวางสต๊อปลอสแบบหยาบ ต่ำกว่าบริเวณที่ราคาพักตัวลงมาที่ 1.5890 เป้าหมายแรก T1 จะเป็นการสวิงไฮที่ 1.5920

ในกรณีนี้ ราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นมากว่าหนึ่งเดือน ในไทม์เฟรมที่สูงกว่า (ราย 30 นาที) ไม่มีแนวต้านของยอดเก่า (ราคาสูงสุดเดิม) ซึ่งจะเป็นเป้าหมายที่สอง ในไทม์เฟรมรายวัน มีแนวต้านสำคัญอยู่ที่ 1.6070 จากความรู้สึกของผม ต่อพฤติกรรมราคา ผมอาจจะเลือกออกตามเป้าแรกเมื่อราคาค่อยๆ หยุดเหนือ T1 หรือจะเลื่อนสต๊อปลอสตามไปยังเป้าที่สอง T2 ที่ 1.6060 ก็ได้

แผนภูมิที่ 4.45 - การวางเป้าหมายของ CPB

จากการแกว่งของราคา เป้าหมายแรก T1 ราคาค่อยๆ หยุด ทำให้เราออกที่ราคา 1.5945 ส่วนการเลื่อนสต๊อปลอสตาม อาจจะออกที่ราคาต่ำกว่า ขึ้นอยู่กับว่าช่วงราคาแคบแค่ไหน

แผนภูมิที่ 4.46 ด้านล่าง แสดงการเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ (BOF) ผลจากข่าวนอนฟาร์มราคาเริ่มหยุดแล้วตกลงมาจากกรอบไซด์เวย์

เราเข้าเทรดอีกครั้งตามกรอบราคาไซด์เวย์ ผมวางเป้าหมายทั้ง T1 และ T2 โดย T1 วางสูงกว่าแนวรับถัดไป ผมไม่หวังว่าราคาจะลงไปต่ำกว่าราคาต่ำเดิม (เหวเดิม) และจะทำกำไรที่เป้าหมายที่สอง T2 ที่จุดเดียวกับ T1 แล้วมองหาโอกาสเข้าต่อไป จากการแกว่งของราคา T2 จะอยู่ใกล้กับแนวรับแรก แต่นี่คือการเทรด - เราไม่ค่อยจะทำได้สมบูรณ์แบบหรอก!

แผนภูมิที่ 4.46 - การวางเป้าหมายของ BOF

เป้าหมาย T1 และ T2 ไปปรับให้ละเอียดในไทม์เฟรมที่ต่ำกว่าแล้ว (ราย 1 นาที) วางเหนือราคาสูงสุดของแท่งเทียนที่ราคาต่ำสุด ในสวิงโลว์ครั้งล่าสุด ตามภาพด้านล่าง

แผนภูมิที่ 4.47 - การปรับเป้าหมายแบบละเอียดของ BOF ในไทม์เฟรมที่ต่ำกว่า (ราย 1 นาที)

แผนภูมิที่ 4.48 ด้านล่าง แสดงเป้าหมายของการทดสอบแนวต้านไม่ผ่าน TST

แผนภูมิที่ 4.48 - การวางเป้าหมายของ TST

เราวางสต๊อปลอสแบบหยาบเหนือจุดกลับตัวที่มีการทดสอบแนวต้านไม่ผ่าน เป้า T1 วางเหนือสวิงโลว์ที่ 1.5023 ซึ่งราคามาถึงใน 3 นาที และเป้า T2 วางเหนือแนวรับที่ 1.4989

ดังที่คุณเห็นแล้วว่า การหาเป้าหมายไม่ได้ยากเย็นนัก

เป้า T1 เป็นจุดถัดไปในไทม์เฟรมที่เราเทรด (ราย 3 นาที) ซึ่งคาดว่าทิศทางของตลาดอาจจะเปลี่ยนไป (สวิงไฮ/โลว์ แนวรับ/แนวต้าน)

เป้า T2 เป็นบริเวณแนวรับ/แนวต้าน ถัดไปจาก T1 ของไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า (ราย 30 นาที) เป้าหมาย T2 นี้จะยืดหยุ่นโดยจะปรับให้ใกล้กว่า หรือไกลออกไปแล้วเลื่อนสต๊อปลอสตามเพื่อ (หวัง) ผลกำไรที่มากกว่าก็ได้

#เทรด #forex #สอนforex #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี

Part 8 : การเข้าออเดอร์

"ใช้เวลาในการพิจารณาให้มาก

และเมื่อเวลามาถึง ก็เลิกคิดแล้วลงมือทำ"

... นโปเลียน โบนาปาร์ต

หลักการเข้าออเดอร์

เรามาเริ่มด้วยหลักการพื้นฐานของการเข้าออเดอร์กัน

ความไม่สมบูรณ์แบบ

เราควรจะใช้วิธีเข้าออเดอร์แบบราคาเบรคเอ้าท์ (Stop Entry ราคาขึ้นมาถึง) หรือจะเลือกวิธีเข้าแบบราคาพักตัว (Limit Entryราคาลงไปถึง) แบบไหนจะดีกว่า? น่าเสียดายที่เราไม่สามารถรู้ได้ว่าวิธีไหนดีกว่ากัน จนกว่าจะเทรดจบแล้วทราบผลกำไรจากการเทรดนั้น

แผนภูมิที่ 4.49 - วิธีเข้าเทรดไม่แน่นอน - Stop Entry หรือ Limit Entry?

จากแผนภูมิที่ 4.49 ทางด้านซ้ายเป็นการเข้าออเดอร์เมื่อมีการเบรคเอ้าท์ ซึ่งStop Entry  เป็นวิธีที่ดีในการเข้าเทรด ราคาจะผ่านจุดเข้าไปแล้วไม่ย้อนกลับมาอีก ซึ่งมีโอกาสน้อยที่ราคาจะย่อลงไปถึง Limit Entry และส่วนใหญ่จะผ่านไปเลย มักจะใช้ในกรณีที่เสี่ยงที่จะตกรถ ในตัวอย่างนี้ก็ชัดเจนว่าการเข้าออเดอร์เมื่อมีการเบรคเอ้าท์ก็ดีกว่า ส่วนทางด้านขวา เราจะเห็นราคาขึ้นๆ ลงๆ ซึ่งทำให้ Limit Entry มีโอกาสดีกว่า และมีโอกาสได้กำไร รวมทั้งเสี่ยงน้อยกว่าการเบรคเอ้าท์ การเข้าแบบ Limit Entry จึงเป็นทางเลือกที่แนะนำ

ในแผนภูมิที่ 4.50 ทางด้านซ้าย เราเห็นการเบรคเอ้าท์ที่หลอกให้เราเข้าซื้อ จากนั้นราคาก็ร่วงลงมากินสต๊อปลอส การรอให้พักตัวเพื่อเข้าแบบ Limit Entry ช่วยให้มีระยะห่าง ซึ่งจะกลายเป็นกำไร แต่หากเป็นการเบรคเอ้าท์จริง ก็ช่วยให้เจ็บตัวน้อยลง กรณีแบบนี้ก็ชัดเจนเช่นกันว่า การเข้าแบบ Limit Entry ก็เป็นทางเลือกที่ดีกว่า

แผนภูมิที่ 4.50 - วิธีเข้าเทรดไม่แน่นอน - Stop Entry หรือ Limit Entry?

ทางด้านขวา ถึงแม้ว่าเราจะเลือกเทรดเพราะการพักตัว PB แต่ราคากลับตัว หมายถึงราคาไปไม่ถึงจุดที่จะเบรดเอ้าท์ ส่วนการเข้าแบบ Limit Entry ก็ทำให้เราขาดทุนเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นการเบรคเอ้าท์จะเสียเยอะกว่ามาก ธรรมชาติของโครงสร้างตลาด และพฤติกรรมราคาจะช่วยให้เรามองเห็นเงื่อนไขและสัญญาณบางอย่าง ในตลาดที่ราบเรียบ โอกาสที่จะเข้าออเดอร์ก็คือการเบรคเอ้าท์ ในตลาดที่มีความผันผวน โอกาสที่ดีกว่าในการเข้าออเดอร์ก็คือการพักตัวและใช้ Limit Entry แต่ก็ไม่ตายตัวอย่างนี้เสมอไป

ความจริงก็คือ... เราไม่สามารถรู้ได้ว่าวิธีไหนจะดีกว่ากัน จนกว่าผลลัพท์จะปรากฏออกมาแล้ว

ดังนั้น สิ่งที่เราสามารถทำได้ก็คือ ให้แน่ใจว่าบริเวณที่เราจะเข้านั้นเราพอใจแล้ว และพยายามให้ได้ราคาดีที่สุดแล้ว จากนั้นเราจึงจะเข้าเทรด! ถ้าผลลัพท์ออกมาเป็นการเข้าที่ดีเท่าที่เป็นไปได้ - นั่นเยี่ยมเลย!

แต่ถ้าไม่ใช่ ก็ต้องยอมรับ กลับมาทบทวนการเข้าออเดอร์ ลองหาว่าจะเข้าให้ดีกว่าเดิมได้อย่างไร แต่ไม่ควรกดดันตัวเองให้มากนัก หาบริเวณที่คุณพอใจที่จะเข้าเทรด แล้วพยายามหาจุดเข้าที่ดีที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ ไม่ว่าตลาดจะพาคุณไปไหนก็ต้องยอมรับ (การบริหารการเทรดและการเลือกจุดออกก็สำคัญไม่น้อยไปกว่าการหาจุดเข้า!) แล้ว... เราจะหาบริเวณเข้าออเดอร์ได้อย่างไร?

ขายส่งกับขายปลีก

การซื้อของในราคาขายส่งได้รับความนิยมหลังจาก ดอน มิลเลอร์ นำแนวคิดนี้มาใช้ (สามารถหาอ่านได้จาก http://donmillerjournal.blogspot.com/) เป็นนิยามที่เขาใช้ในการอธิบายจุดสั่งซื้อของเขา ผมคิดว่านิยามของจุดสั่งซื้อของผมไม่เหมือนกับเขา (ต้องขออภัยถ้ามันทำให้คุณสับสน) แต่มันเป็นคำอธิบายแนวคิดของจุดเข้าที่ดี

มันเป็นแนวคิดตามหลักธุรกิจ - ซื้อราคาส่ง ขายราคาปลีก

ทำไมเราถึงไม่อยากจะเทรดโดยหลักคิดนี้ล่ะ? เข้าที่ราคาขายส่ง และออกที่ราคาขายปลีก

ผมให้ความสนใจไปที่ช่วงที่ราคามีการสวิงในไทม์เฟรมที่ผมเทรด จากตัวอย่างในแผนภูมิที่ 4.51 ราคาสวิงมีโอกาสได้กำไรจำกัด ราคาไปไกลก่อนที่จะมีการกลับตัว แน่นอน เราไม่รู้ว่าราคาจะไปไกลแค่ไหน แต่รู้แค่ว่ามันจะจบรอบ

นี่คือช่วงที่เราสามารถเข้าออเดอร์ได้ และมีกำไรแน่นอน จนกว่าจะเกิดการกลับตัว

แผนภูมิที่ 4.51 - โอกาสได้กำไรจำกัด

ราคาขายส่งก็คือราคาช่วงแรกของการสวิง มืออาชีพจะเข้าขายแล้วคาดหวังให้ราคาลงไปต่ำสุดแล้วปิดการขาย และมีกำไรแน่นอน ราคาขายปลีกคือราคาที่สวิงมาแล้ว มือสมัครเล่นจะเข้าขายตามโซนพักตัว (TA) เช่น การเบรคจากสวิงโลว์เดิม หรือการตัดกันของค่าเฉลี่ยราคา (MA Cross) ซึ่งดูเหมือนว่าจะอยู่คนละฝั่งกับมืออาชีพที่เข้าซื้อสวนกลับไปออกตามจุดที่พวกเขาเคยขายลงมา

ผมแค่อยากจะบอกว่า เข้าให้เร็วถ้าเป็นไปได้ให้ได้ราคาขายส่งเกาะกลุ่มไปกับเหล่ามืออาชีพ เทรดเดอร์บางคนอาจมีข้อโต้แย้งว่า บางทีการเข้าเร็วอาจทำให้ไปติดยอดดอยหรือก้นเหวก็ได้ นั่นก็ถูก! ทำไมล่ะ ในเมื่อความเสี่ยงต่ำ แต่โอกาสได้กำไรสูง!

การเข้าที่ราคาปลีกยิ่งเพิ่มความเสี่ยงและลดโอกาสทำกำไร ดังแสดงในแผนภูมิที่ 4.52 แสดงให้เห็นการเข้าที่เบรคจากสวิงโลว์เดิม การเข้าที่ราคาส่ง ทำให้มั่นใจว่าจะลดความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสทำกำไร ดังแสดงในแผนภูมิที่ 4.53

แผนภูมิที่ 4.52 - การเข้าแบบเบรคเอ้าท์มักจะช้าไปในการเทรดแบบสวิง

แผนภูมิที่ 4.53 - การเข้าที่ราคาส่ง - ลดความเสี่ยง และมีโอกาสได้กำไรมากขึ้น

#เทรด #forex #สอนforex #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี

Part 9 : เราจะหาบริเวณที่เป็นราคาส่งได้อย่างไร?

พิจารณาจากไทม์เฟรมที่เทรด กับดักรูปแบบต่างๆ จะบอกว่าราคาอ่อนแรงเมื่อเข้าสู่บริเวณแนวรับ/แนวต้าน ราคาอ่อนแรงเมื่อเข้าสู่บริเวณสวิงไฮ/สวิงโลว์ หรือราคาอ่อนแรงเมื่อจบช่วงพักตัวในเทรนด์ เทรดเดอร์ที่เข้าซื้อขายที่ราคาปลีกจะเข้ามาช้าในบริเวณเหล่านี้ และจะติดกับจนถูกบีบให้ออกจากตลาดไป เราจะมองหาจุดเข้าในจังหวะที่พวกเขาออกจากตลาด หรือก่อนที่จะรู้ตัวว่าต้องออกจากตลาด

จุดเข้านี้มองหาได้ง่ายมาก มันมักจะเป็นบริเวณที่เบรคกลับไปยังจุดที่มีรูปแบบการกลับตัว (จุดที่เทรดเดอร์รายอื่นเข้า) หรือบริเวณที่เต็มไปด้วยกับดัก (เทรดเดอร์รายอื่นจะเข้ามาติดกับดัก) บริเวณนั้น หรือบริเวณที่อยู่ก่อนจุดดังกล่าวนั่นคือราคาส่ง บริเวณหลังจากนั้นคือราคาปลีก

ผมเรียกจุดนี้ว่า ราคาขายส่งครั้งสุดท้าย (Last Wholesale Price - LWP) ผมจะเข้าที่จุดนี้ หรือก่อน LWP และไม่ว่าจะยังไงก็ตามผมจะไม่ไล่ตามราคาหลัง LWP เพราะจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยง และลดโอกาสที่จะชนะ ถ้าผมเข้าไม่ทันที่ LWP ผมก็จะอดทนรอโอกาสที่สอง เมื่อราคากลับมาทดสอบ หรือสัญญาณครั้งต่อไปแทน

คำเตือน เราไม่ได้นึกจะเข้าก็เข้าในบริเวณนี้ ถ้าเป็นไปได้เราจะใช้ไทม์เฟรมที่เล็กกว่าเพื่อให้ได้ราคาที่ดีขึ้น ถึงจะเรียกว่าราคาส่งครั้งสุดท้ายจริงๆ

ภาพตัวอย่างข้างล่างทั้งหมดจะใช้ไทม์เฟรมที่เทรด (ราย 3 นาที)

แผนภูมิที่ 4.54 และ 4.55 แสดงตัวอย่างราคาส่งสุดท้าย LWP ในกับดักหลายๆ แบบ ในตัวอย่าง (A) เราจะเห็นการพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ BPB มีการเบรกเอ้าท์ที่แนวรับ แล้วราคาย้อนกลับมายังจุดที่เบรคเอ้าท์อีกครั้ง จากนั้นตลาดแสดงให้เห็นอารมณ์ที่เปลี่ยนไป - เกิดแท่งเทียนขาขึ้นสองแท่งแล้วตามด้วยแท่งแดงที่ย้อนมาปิดต่ำกว่า หากราคาลงต่อก็จะทำให้คนที่เทรดต้องออกจากตลาด (ในกรณีนี้คือทั้งคนที่เข้าซื้อช้าหรือ คนที่ติดกับดักของการเบรคเอ้าท์ครั้งแรก) จุดที่แท่งแดงปิดต่ำกว่าราคาเดิมนี้แหละที่เป็นราคาส่ง เราควรจะเข้าตรงนี้หรือก่อนที่จะลงไปเบรคเอ้าท์ราคาต่ำสุดของแท่งเดียวกันนี้

ในตัวอย่าง (B) เราเจอกรณีเบรดเอ้าท์ไม่สำเร็จ BOF ซึ่งอันที่จริงมันเป็นโอกาสครั้งที่สอง ราคาลงมาทดสอบโลว์เก่า จุดขายส่ง LWP คือจุดที่ราคาย้อนขึ้นไปสูงกว่าแท่งแดงที่ลงมาทดสอบ ความผิดพลาดของเทรดเดอร์ที่เข้าก่อนหน้านี้ทั้งสองครั้งใต้แนวรับช่วยเป็นแรงส่งให้ราคาสูงขึ้น การเข้าจะต้องพยายามให้ได้จังหวะนี้ หรือก่อนที่จะผ่าน LWP ไป ไม่อย่างนั้นโอกาสเทรดครั้งนี้ก็จะผ่านไป

แผนภูมิที่ 4.54 - ราคาขายส่งสุดท้าย LWP (1 จาก 2)

จากตัวอย่าง (C) เราจะเห็นว่ามีการทดสอบไม่ผ่านที่แนวต้าน แท่งแดงย้อนกลับมาปิดต่ำกว่าราคาปิดของสองแท่งก่อนหน้า ซึ่งส่งผลต่ออารมณ์ของตลาดอย่างรวดเร็ว และเกิดการกลับตัวของราคา การที่ราคาลงต่ำต่อไปก็จะทำให้เทรดเดอร์ที่ซื้อต้องปิดออเดอร์ บริเวณนี้จึงเป็นราคาส่งสุดท้าย LWP

ตัวอย่าง (D) แสดงให้เห็นการพักตัว PB ในช่วงแนวโน้มขาขึ้น ราคาขายส่งสุดท้าย LWP อยู่เหนือแท่งเขียวที่มีไส้เทียนด้านล่างยาวซึ่งเป็นการเปลี่ยนอารมณ์ของตลาดอย่างรวดเร็ว การเข้าก็จะเข้าที่จุดนี้หรือก่อนบริเวณนี้

ตัวอย่าง (E) แสดงการพักตัวแบบยาวนาน CPB ของแนวโน้มขาขึ้น ราคาส่งสุดท้ายอยู่เหนือแท่งคู่ที่บ่งบอกการกลับตัว (แท่งแดงที่ปิดต่ำสุดตามด้วยแท่งเขียวที่ปิดสูงซึ่งแสดงอาการกลับตัวของราคาอย่างชัดเจน) เทรดเดอร์ที่ถูกบีบให้ออกจากตลาดจะปิดออเดอร์เหนือบริเวณนี้

ตัวอย่าง (F) แสดงการทดสอบไม่ผ่านบริเวณกรอบราคาไซด์เวย์ ราคาค่อยๆ เข้ารู่บริเวณที่เป็นแนวรับ ซึ่งจะเห็นเป็นเข็มที่ราคาปิดประมาณครึ่งแท่งแล้วราคาย้อนกลับไปเกินครึ่งของแท่งดังกล่าว เทรดเดอร์ที่ถูกบีบให้ออกจากตลาดจะปิดออเดอร์เหนือบริเวณที่ราคามาหยุดแบบนี้ (ถ้าเป็นการเข้าซื้อก็จะง่ายแค่รอให้เบรคเอ้าท์ที่แนวรับด้านล่างก็พอ) นี่คือบริเวณที่เป็นราคาส่งสุดท้ายของเรา เราจะเข้าก็ต่อเมื่อได้ราคาบริเวณนี้ หรือก่อนหน้านี้

แผนภูมิที่ 4.55 - ราคาขายส่งสุดท้าย LWP (2 จาก 2)

บริเวณที่เป็นราคาขายส่งของเรามักจะขึ้นอยู่กับการกลับตัวและการเบรคเอ้าท์ของไทม์เฟรมที่เทรด ซึ่งเป็นจุดที่เทรดเดอร์ที่ผิดทางถูกบีบให้ออกจากตลาด

เราจะมองหาโอกาสเข้าก่อนบริเวณนั้น หากเข้าไม่ทัน เราจะไม่ไล่ตามราคาหลังจากบริเวณนั้น เราจะรอให้มีโอกาสที่ราคากลับมาทดสอบ หรือรอโอกาสใหม่ครั้งต่อไปแทน

#เทรด #forex #สอนforex #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี

Part 10 อัตราเสี่ยงต่อผลตอบแทน (Reward:Risk Ratio)

แผนภูมิที่ 4.56 - สต๊อปลอส - เป้าหมาย - อัตราเสี่ยงต่อผลตอบแทน -จุดเข้าออเดอร์

เทรดเดอร์มากมายค้นหาวิธีเข้าออเดอร์ แล้ววางสต๊อปลอสเหนือราคาสวิงไฮ/สวิงโลว์เดิม นั่งประมาณความเสี่ยง แล้วตั้งเป้า 2-3 เท่าจากความเสี่ยง แล้วก็นั่งรอให้ราคาไปชนสต๊อปหรือเป้าหมาย

เป็นวิธีที่ไม่เวิร์คเท่าไหร่!

พวกเขาไม่เคยเช็คโครงสร้างตลาดหรือพฤติกรรมราคา เพื่อดูว่าราคาจะมีโอกาสไปถึงเป้าที่ตั้งไว้หรือไม่

โครงสร้างตลาดบอกว่าบริเวณไหนเป็นกับดัก - บริเวณไหนที่ราคาจะถูกขับเคลื่อนโดยการปิดออเดอร์ของเทรดเดอร์ที่ติดกับดัก

พฤติกรรมราคาบอกให้เรารู้ว่าจุดสต๊อปอยู่ที่ไหน - บริเวณที่ราคาไม่ควรจะไปถึง ถ้าเราตัดสินใจได้ถูกต้อง

พฤติกรรมราคายังบอกให้เรารู้เป้าหมาย - บริเวณที่ราคาควรจะไป มีการพักตัวหรือไม่ หรือกระทั่งการกลับตัวของราคา

แล้วทำไมคุณถึงจะต้องวางอัตราเสี่ยงต่อผลตอบแทน 3:1 โดยวางเป้าไกลเกินบริเวณแนวรับ/แนวต้าน แล้วมานั่งหวังให้มันทะลุไปได้ล่ะ? ทำแบบนั้นไม่ค่อยฉลาดนัก

แผนภูมิที่ 4.57 - ตัวอย่างการใช้อัตราเสี่ยงต่อผลตอบแทนที่ผิด

เราใช้กระบวนการที่ต่างออกไป เราจะคิดถึงสต๊อปลอสก่อน จากนั้นวางเป้า แล้วจึงปรับให้เข้ากับอัตราเสี่ยงต่อผลตอบแทนที่เหมาะสม จากนั้นจึงระบุจุดที่ยังคงคุ้มค่าที่จะเสี่ยง (Last R:R Point - LRP) ก่อนที่จะเข้าออเดอร์

แผนภูมิที่ 4.58- ตัวอย่างการใช้อัตราเสี่ยงต่อผลตอบแทนที่ถูก

แล้วควรจะใช้อัตราเสี่ยงต่อผลตอบแทนเท่าไหร่ดี?

ผมจะเน้นไปที่อัตราเสี่ยงต่อผลตอบแทนที่ 1:1 ในช่วงแรกของบทการเข้าออเดอร์ แล้วตอนนี้ผ่านมาครึ่งทาง เราได้รู้ถึงการระบุจุดที่ยังคงคุ้มค่าที่จะเสี่ยง (Last R:R Point - LRP)ระหว่างสต๊อปลอส (SL) และเป้าหมายแรก (T1) (ซึ่งก็คือสวิงไฮ/สวิงโลว์ หรือแนวรับ/แนวต้าน ของไทม์เฟรมที่เทรด)

คุณอาจจะเถียงว่า อัตรา 1:1 ก็เพียงพอแล้ว ยังจำได้ไหมว่า ที่ผมบอกในกลยุทธ์เรื่อง การตื่นตัวในการบริหารการเทรด ที่เราจะไม่ยอมรอให้ราคามาชนสต๊อปลอสเมื่อเรารู้แล้วว่าผิดทาง ผมจะคัตทิ้งโดยไม่ลังเล ถ้าคุณจัดการเรื่องนี้ได้ดี คุณจะลดความสูญเสียลงจากอัตรา 1:1 ได้อีก

และเนื่องจากนี่คือช่วงแรก ในช่วงที่ 2 จะกล่าวถึงเรื่องเป้าหมายถัดไปอีก (หรือชนกับเทรลลิ่งสต๊อป) เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุดจากอัตราเสี่ยง 1:1 เช่นกัน

บริเวณที่เป็นจุดเข้า Entry Zone

ตอนนี้เรามีบริเวณที่เป็นจุดเข้า 2 แบบ แบบแรกเป็นการหาโดยพฤติกรรมราคา (ราคาส่ง) และอีกแบบเป็นการใช้การบริหารความเสี่ยง (จุดที่ยังคงคุ้มค่าที่จะเสี่ยง)

บริเวณที่เป็นจุดเข้าจะอยู่ระหว่างสต๊อปลอส และบริเวณที่ใกล้ที่สุดระหว่าง ราคาส่ง และจุดที่คุ้มค่าที่จะเสี่ยง (LWP และ LRP)

แผนภูมิที่ 4.59- หาบริเวณที่เป็นจุดเข้า

การมองหาบริเวณที่เป็นจุดเข้าจะต้องมั่นใจว่า (a) ราคาที่ได้เป็นราคาส่ง และ (b) ราคาที่ได้มีความคุ้มค่าของอัตราเสี่ยงต่อผลตอบแทน

จำไว้ว่า ถึงแม้เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ ต้องใช้ประกอบกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าหนังสือเล่มนี้มีความซับซ้อน ไม่จำเป็นต้องคำนวณหรือจด ราคาที่คุ้มค่าที่จะเสี่ยง (LRP) และราคาส่ง (LWP)คุณสามารถมองราคาส่งได้ด้วยตา (จุดที่มีการเบรคเอ้าท์จากบริเวณที่มีการกลับตัวออกจากกับดัก) และมองราคาที่คุ้มที่จะเสี่ยงได้ด้วยตาเช่นกัน (ครึ่งหนึ่งของสต๊อปลอสและเป้าหมาย) ไม่ต้องสร้างความยุ่งยากโดยไม่จำเป็น และเมื่อไปหาจุดที่ดีที่สุดในไทม์เฟรมที่เล็กกว่า ก็แค่ให้แน่ใจว่าไม่ได้วิ่งตามราคาเท่านั้นก็พอ

ปัจจัยในการเข้าออเดอร์

  • ราคาอยู่บริเวณกับดัก
  • ราคากำลังจะจบการอ่อนแรงในบริเวณที่เป็นแนวรับ/แนวต้าน หรือสวิงไฮ/สวิงโลว์ หรือใกล้จะจบการพักตัวในระหว่างแนวโน้ม
  • ได้ระบุตำแหน่งสต๊อปลอสแล้ว
  • บริเวณที่ราคาไม่ควรจะไปถึง ถ้าเราวิเคราะห์ได้ถูกต้อง
  • บริเวณแนวรับ/แนวต้าน หรือสวิงไฮ/สวิงโลว์
  • ได้ระบุเป้าหมายแล้ว
  • สวิงไฮ/สวิงโลว์เดิม หรือแนวรับ/แนวต้านถัดไปของไทม์เฟรมที่เทรด
  • ได้ระบุบริเวณที่เป็นจุดเข้าแล้ว
  • ได้พิจารณาจาก ราคาส่ง (LWP) และราคาที่คุ้มค่าที่จะเสี่ยง (LRP) แล้ว

ถ้ามีทั้งหมดที่ว่ามาแล้ว ก็ได้เวลาเทรด

เมื่อสิ้นสุดแนวโน้มอ่อนแอ!

ก็กระโดดข้ามกับดักไปได้เลย!

#เทรด #forex #สอนforex #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี

#เทรด #forex #สอนforex #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี

 

YTC Price Action Trader Part 11-20  >>>>>